การควบคุมในการบริหารราชการไทย โดยฝ่ายตุลาการ

การควบคุมในการบริหารราชการไทย โดยฝ่าตุลาการ มีลักษณะ ดังนี้ ฝ่ายตุลาการมีบทบาทโดยตรงในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการบริหารราชการ โดยมีลักษณะการควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรของศาลต่างๆ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลทหาร โดยเฉพาะในส่วนของ ศาลรัฐธรรมนูญ เช่น อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยกฎหมาย ระเบียบ หรือการกระทำใดที่อาจส่งผลให้มีการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  การวินิจฉัยปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กร ตามรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่ศาล ศาลปกครอง เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจ หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ และคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร เป็นต้น และในส่วนของ…

Continue Readingการควบคุมในการบริหารราชการไทย โดยฝ่ายตุลาการ

การควบคุมในการบริหารราชการไทย โดยฝ่ายบริหาร

          ฝ่ายบริหารมีบทบาทโดยตรงในการควบคุมระบบราชการ และมีบทบาทสำคัญในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในกรณีประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าทางการบริหารในการควบคุมระบบราชการในฐานะผู้บังคับบัญชา เพื่อควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา อาทิ ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้รับมอบหมาย  โดยสามารถควบคุมการดำเนินงานได้ทั้งก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงาน และหลังการดำเนินงานว่ามีผลผลิต ผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามเป้าหมายและคำรับรองในการปฏิบัติราชการหรือไม่ โดยเป็นการควบคุมทั้งในเชิงประสิทธิภาพและความสอดคล้องกับยุทธศาสต์ชาติ นโยบายของรัฐบาลและแผนในการปฏิบัติราชการ  สำหรับวิธีการควบคุมตามสายการบังคับบัญชา มีวิธีการต่างๆ อาทิ การตรวจงาน การรเรียกให้รายงานผลงาน การควบคุมการประชุมและสัมมนา การควบคุมผลงาน การควบคุมผ่านงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณให้ตามผลงานที่ผ่านมา เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาททางด้านควบคุมโดยตรง อาทิ การดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ…

Continue Readingการควบคุมในการบริหารราชการไทย โดยฝ่ายบริหาร

ปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย

ปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย ในภาพรวมโครงสร้างรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยมีการพึ่งพิงรัฐบาลกลางในการจัดเก็บและการจัดสรรเงินในระดับที่สูง แม้จะมีประเภทภาษีชนิดต่างๆแต่ก็ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพียงพอ จากการวิเคราะห์พบลักษณะที่ก่อให้เกิดปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย ดังนี้ 1. ข้อจำกัดในการดำเนินงานและอำนาจทางภาษีอากร ที่ผ่านมานโยบายการกระจายอำนาจทางการคลังจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ปีพ.ศ.2542 มีความชัดเจน แต่ในส่วนของการนำไปปฏิบัติยังคงอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เช่นเดียวกับ การดำเนินการภายหลังจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 ที่การบริหารราชการและการใช้กลไกของรัฐในทางปฏิบัติในการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่ท้องถิ่นยังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนโยบายการกระจายอำนาจในอดีต กล่าวคือมีการดำเนินการและระบบการจัดการที่ส่วนกลางและให้อำนาจกับกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการการกระจายอำนาจเป็นหลัก โดยมีหน่วยงานที่ทำการตัดสินใจหลัก 4 หน่วยงานได้แก่ 1) สำนักงบประมาณ 2) กระทรวงการคลัง 3) สศช.…

Continue Readingปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย