เปรียบเทียบวัสดุก่อสำหรับอาคาร

วัสดุพื้นฐานในการก่อสร้างนั้นก็คือ “อิฐ” ซึ่งจะใช้ในการก่อสร้างบ้าน หรือ อาคารทั่วไป นอกจากจะเป็นส่วนสำคัญในการก่อเพื่อออกแบบพื้นที่และการใช้สอยของอาคาร บางครั้ง จะถูกนำไปตกแต่งเป็นเพื่อความสวยงาม หรือตกแต่งในสไตล์ลอฟท์ “อิฐ” นั้นมีหลายชนิด มีข้อดี - ข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการใช้งานในด้านต่างๆ โดยจะสามารถแยกประเภทได้ดังนี้ อิฐมอญอิฐบล็อกอิฐมวลเบาEkoblokน้ำหนัก (กก/ตร.ม.)18010690110ราคารวม(บาท/ตร.ม.)515360413ใกล้เคียงอิฐมวลเบาจำนวน(ก้อน/ตร.ม.)13012.508.3312ข้อดี- หาซื้อได้ง่าย - ทนทานต่อสภาพความร้อน- รับน้ำหนักในการเจาะแขวนได้ดีกว่าอิฐประเภทอื่น- มีขนาดเล็กสามารถใช้ต่อเติมในพื้นที่เล็กได้ดี- ราคาถูกกว่าอิฐประเภทอื่น- ประหยัดเวลาในการก่อ- ขนาดก้อนมีมาตรฐานมากกว่าอิฐมอญ- ระบายความร้อนได้ดีเนื่องจากมีรูอยู่ตรงกลาง- มีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวก- ติดตั้งได้รวดเร็ว- ไม่สิ้นเปลืองปูนในการก่อเพราะอิฐมีขนาดที่ได้มาตรฐาน- มีรูพรุนทั่วทั่งก้อนจึงเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี- ตัวอิฐสามารถดูดซับเสียงได้ดี-ทนไฟได้นาน- น้ำหนักเบา-แข็งแรง-กันได้ได้นาน 4 ชม.ข้อเสีย- สะสมความร้อนได้ดี- ใช้เวลาในการก่อนานกว่าประเภทอื่น- ขนาดไม่มาตรฐานต้องฉาบปูนหนาเพื่อให้ได้ระดับที่เสมอกัน- ดูดซึมน้ำสูงจึงต้องแช่อิฐในน้ำก่อนการก่อผนัง-น้ำหนักมาก- มีโอกาสรั่วซึมได้มากกว่าอิฐประเภทอื่น- รับน้ำหนักในการเจาะแขวนได้น้อย- มีราคาสูงกว่าอิฐประเภทอื่น- ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญในการก่อ- ไม่สามารถใช้ปูนร่วมกับอิฐประเภทอื่นได้- ในการเจาะผนังต้องใช้พุกเฉพาะอิฐมวลเบาเพื่อยึดเกาะ- อิฐมีรูพรุนดูดซับความชื้นจึงไม่เหมาะกับการก่อสร้างห้องน้ำ- ยังมีคนใช้งานน้อย - การสั่งซื้อค่อนข้างลำบาก ในการเลือกวัสดุสำหรับก่อสร้างอาคาร นอกจากจะดูเรื่องความสวยงาม ราคา ยังต้องคำนึงถึงการดูแลรักษาภายหลังจากการใช้อาคาร นอกจากนี้ เรื่องของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยท่่ต้องให้ความสำคัญ เพราะวัสดุก่อ มีค่าการดูดซึมความร้อนที่แตกต่างกัน…

Continue Readingเปรียบเทียบวัสดุก่อสำหรับอาคาร

ผู้เกี่ยวข้องหลักในงานก่อสร้าง

งานก่อสร้าง เป็นงานที่ทำให้เกิดการสร้างหรือการติดตั้งให้เป็นอาคาร, โครงสร้าง, ระบบสาธารณูปโภค หรือส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้าง การดำเนินงานก่อสร้างจึงต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพในด้านคุณภาพ ทั้งด้านการควบคุมระยะเวลาและต้นทุนของการก่อสร้าง ดังนั้นจำเป็นยิ่งนักที่จะต้องวางแผนการดำเนินงานเป็นอย่างดี ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างทุกฝ่ายมีส่วนช่วยให้งานดำเนินการไปอย่างราบรื่น โดยแบ่งได้ดังนี้1. เจ้าของงาน อาจเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล เอกชน ราชการ 2. ผู้ออกแบบ ประกอบด้วยฝ่ายสถาปนิกและวิศวกร ซึ่งอาจแยกตามสาขาของงาน โดยสถาปนิกจะเป็นผู้ออกแบบการใช้อาคารให้ตรงตามความต้องการของเจ้าของงาน เพื่อให้มีประโยชน์ใช้สอย รวมถึงความสวยงามของอาคาร ในส่วนของวิศวกรด้านโครงสร้าง มีหน้าที่ออกแบบและคำนวณขนาดของโครงสร้างอาคารให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ทำงานร่วมกับวิศวกรในสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรงานไฟฟ้า, ระบบสุขาภิบาล,…

Continue Readingผู้เกี่ยวข้องหลักในงานก่อสร้าง

Smart Facility Management ในปี 2567

การบริหารทรัพยากรอาคาร (Facility Management) คือการบริหารจัดการทรัพยากร ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน กิจกรรม รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่ใช้งานหรือเป็นเจ้าของทรัพยากรนั้น ๆ โดยประสานและบริหารหลักการ 3Ps : People, Place, Process เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเทรนด์ของ Smart Facility Management ในปี 2567 นี้จะเห็นการต่อยอดและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในหลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนในการบริหารจัดการและการพัฒนาความเป็นอยู่หรือการใช้ชีวิตของคนให้ดีขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. หุ่นยนต์อัจฉริยะ (Autonomous Robotics) สำหรับเสริมประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มความปลอดภัย และลดความเสี่ยงให้กับพนักงาน โดยเฉพาะในงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี อันตราย หรือต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม  2.เทคโนโลยีฝาแฝดดิจิทัล (Digital Twin)  เป็นการพัฒนาจาก Digital Mapping และ 3D Visualization โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินการใช้พื้นที่แบบreal-time สำหรับป้อนข้อมูลและประเมินผลลัพธ์จำลองได้ทันที เทคโนโลยีนี้จึงมีส่วนช่วยในกระบวนการตัดสินใจและบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น…

Continue ReadingSmart Facility Management ในปี 2567