Breakeven Inflation

ในสถานการณ์ที่ภาะเงินฟ้อมีผลต่อการออมและการลงทุน ผู้ออมและผู้ลงทุนจึงต้องมีการประมาณค่าเงินเฟ้อและผลกระทบของเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นกับเงินออมหรือลงทุนในอนาคต การคาดการณ์เงินเฟ้ออาจทำได้โดยพิจารณาจากตราสารทางการเงินที่แปรผันตามเงินเฟ้อจะเป็นการคำนวณหาค่า Breakeven inflation หลักการของการคำนวณ Breakeven inflation มาจากหลักการที่ว่า นักลงทุนย่อมจะได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่าๆ กันไม่ว่าจะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อในรุ่นอายุเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 10 ปีให้ผลตอบแทนที่ 2.50% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อรุ่นอายุ 10 ปี อยู่ที่ 0.5% สะท้อนว่า Breakeven inflation 10 ปี เท่ากับ 2% ซึ่งจะทำให้…

Continue ReadingBreakeven Inflation

การเลือกเครื่องมือในการประเมินโครงการ

            การประเมินโครงการลงทุนโดยเฉพาะการวิเคราะห์ความคุ้มค่า ในการลงทุนนิยมใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆมาช่วยวิเคราะห์ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ เครื่องมือที่สำคัญ 3 เครื่องมือที่นิยมใช้คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) ดัชนีกำไร (Profitability Index: PI) และ อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR)             ในกรณีโครงการเจาะจงเลือก ที่ค่า NPV กับค่า PI ให้ผลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโครงการแตกต่างกัน…

Continue Readingการเลือกเครื่องมือในการประเมินโครงการ

เงินสกุลดิจิทัล การลงทุนในยุคดิจิทัล

            จากนิยามความหมายของเงินที่นักเศรษฐศาสตร์ให้ไว้ว่าหมายถึง “สิ่งที่สังคมยอมรับให้ใช้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่างๆในระบบเศรษฐกิจ” ซึ่งเงินมีวิวัฒนาการจากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติที่คนในสังสังคมส่วนมากต้องการ เช่น เปลือกหอย หินสีต่างๆ สู่ยุคการใช้เงินโลหะ เช่น เงิน ทองคำ แล้วจึงมีพัฒนาการสู่ยุคของการใช้เงินกระดาษ ซึ่งเป็นตราสารที่มีผู้รับรองมูลค่าของตราสารหรือเงินกระดาษนั้นโดยที่ผู้ที่เป็นผู้รับรองมูลค่าของตราสารหรือเงินกระดาษนั้นจะต้องเป็นผู้ที่สังคมยอมรับว่ามีความน่าเชื่อถือที่สามารถชดใช้มูลค่าตามที่ระบุในตราสารหรือเงินกระดาษนั้น ซึ่งได้กลายเป็นเงินธนบัตรของแต่ละประเทศที่รัฐบาลเป็นผู้รับรองมูลค่าของเงินธนบัตรของตน อย่างไรก็ตามเมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้น มีการใช้เงินฝากกระแสรายวันของธนาคารพาณิชย์มาชำระหนี้โดยจ่ายเป็นเช็คธนาคาร แต่ความน่าเชื่อถือของเช็คหรือตั๋วเงินจะมีมากขึ้นถ้าตั๋วเงินฉบับนั้นได้รับการรับรองจากธนาคารแล้ว นั่นคือธนาคารจะเป็นผู้รับรองมูลค่าของตั๋วเงินฉบับนั้นนั่นเอง เมื่อผู้คนมีความเชื่อถือในฐานะความมั่นคงของธนาคารก็จะเชื่อถือตั๋วเงินฉบับที่ธนาคารรับรองด้วย ตั๋วเงินที่ธนาคารรับรองจึงเป็นเงินกระดาษที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้รับรองมูลค่า             ในยุคดิจิทัลมีผู้สร้างสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใช้การพัฒนาซอร์ฟแวร์ที่ใช้สร้างเงินสกุลดิจิทัล เงินสกุลดิจิทัลสกุลแรกที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายคือ “บิตคอยน์ (Bitcoin)” ซึ่งสร้างขึ้นจาก Bitcoin software เป็นซอร์ฟแวร์ประเภท open…

Continue Readingเงินสกุลดิจิทัล การลงทุนในยุคดิจิทัล