1 การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

บริษัทจำเป็นต้องมีการจัดโครงสร้างธุรกิจให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความชัดเจน มีการจัดโครงสร้างคณะกรรมการในฐานะตัวแทนของผู้ถือหุ้น ให้มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน เพื่อประสิทธิภาพในการกำหนดนโยบาย ทิศทางธุรกิจ และการประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย และเป็นประโยชน์สูงสุดของบริษัทอย่างสมดุลจากโครงสร้างธุรกิจเดิมที่ผู้บริหารมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ตนเองเป็น CEO ภรรยาเป็นผู้ควบคุมด้านการเงิน พี่ๆน้องๆเป็นผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนให้โครงสร้างธุรกิจมีความชัดเจน ป้องกันการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย มีการดำเนินงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ 1 จัดโครงสร้างบริษัทที่ทำธุรกิจพึ่งพิงกัน (Business Value Chain) ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันก่อนเข้าตลาด ถ้ามีบริษัทของผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ต้องซื้อขายสินค้า กับกลุ่มบริษัทในปริมาณที่สูงเป็นประจำ ควรต้องนำบริษัทเข้ามาอยู่ในกลุ่มบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน เช่น…

Continue Reading1 การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียน

2 ระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในของบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ระบบการจัดทำงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี เพื่อสะท้อนความสามารถในการดำเนินงานของกิจการได้อย่างถูกต้อง จากเดิมกิจการที่เป็นบริษัทจำกัดจะทำบัญชีเพื่อยื่นต่อกรมสรรพากร และชำระภาษีปีละหนึ่งครั้ง อาจมีการลงรายการบัญชีไม่สอดคล้องกับธุรกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งยังถือเป็นระบบของบัญชีกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities: NPAEs)  ซึ่งเมื่อปรับเป็นบริษัทมหาชนเพื่อเข้าจดทะเบียนทำให้กิจการจะกลายเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities: PAEs) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เรียกว่า Thai Financial Reporting Standards หรือ TFRS  โดยบริษัทมหาชนที่จะเข้าจดทะเบียนต้องมี Chief Financial Officer (CFO) ซึ่งเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงินของกิจการ และมีสมุห์บัญชี หรือ…

Continue Reading2 ระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในของบริษัทจดทะเบียน

ประโยชน์ของการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การซื้อหุ้นคืน (Treasury Stock) เป็นเครื่องมือในการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท โดยการซื้อหุ้นคืนของบริษัทในแต่ละครั้ง จะทำให้จำนวนหุ้นที่อยู่ในมือของผู้ถือหุ้นลดลง จึงเป็นการลดจำนวนหุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่จะนำไปคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earning per Share : EPS) ส่งผลให้กำไรสุทธิต่อหุ้นของบริษัทสูงขึ้นซึ่งอาจทำให้ราคาตลาดของหุ้นสูงขึ้นสะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานของหุ้น นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องมือในการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้น โดยบริษัทอาจซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของบริษัทในเรื่องเกี่ยวกับการให้สิทธิออกเสียงลงคะแนน และสิทธิในการรับปันผลของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ทำให้บริษัทบริหารงานต่อไปได้ ลดปัญหาขัดแย้งระหว่างบริษัทและผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือของผู้บริหารที่จะสะท้อนมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมโดยสามารถสร้างอุปสงค์ในหลักทรัพย์ จากการซื้อหุ้นคืนได้ หากเห็นว่าหุ้นมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ราคาซื้อขายเคยอยู่ในระดับที่สูงกว่ามูลค่าทางบัญชี (Book Value) แต่ปัจจุบันราคาลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่เป็นหุ้นมีปัจจัยพื้นฐานดี เป็นต้น และเพิ่มอุปทาน โดยการเสนอขาย…

Continue Readingประโยชน์ของการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียน