ศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้าทางอากาศ

จากที่กรมศุลกากรได้อนุญาตให้ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) เป็นผู้จัดตั้งศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้า และ AOT ได้มอบหมายให้บริษัท บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด เป็นผู้ดำเนินการศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้านั้น นับเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน ผนวกรูปแบบการขนส่งทุกประเภททั้งทางบก ราง น้ำ อากาศ การรวมตู้สินค้า และการเก็บรักษา พร้อมดำเนินพิธีการทางศุลกากรเบ็ดเสร็จในจุดเดียว สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ หนุนการเติบโตของ E-Commerce ยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอย่างแท้จริง ด้วยงบลงทุนกว่า 150 ล้านบาท บนเนื้อที่กว่า 4,872 ตารางเมตร ซึ่งศูนย์มัลติโมดอลแบ่งเป็นพื้นที่ให้บริการ…

Continue Readingศูนย์บริการศุลกากรเพื่อกระจายสินค้าทางอากาศ

ทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี (3)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

วิเชียร ตันศิริคงคล (2555) เรื่อง การเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 จังหวัดชลบุรี พบว่า บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง ความขัดแย้งดังกล่าวมีอิทธิพลกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของจังหวัดชลบุรี และทำให้เกิดพรรคพลังชลขึ้นในการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดย้ายไปสังกัดพรรคพลังชล ดังนั้นในการเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นการแข่งขันกันระหว่างผู้สมัครที่มาจากพรรคการเมืองสำคัญ 3 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย และพรรคพลังชล  บทความชิ้นนี้ตั้งข้อสังเกตสำคัญว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรีส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเลือกตั้งโดยลงคะแนนให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สังกัดพรรคการเมืองที่มีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ทางการเมืองกับนักการเมืองท้องถิ่น และหัวคะแนนมีบทบาทสำคัญต่อการชักจูงให้ไปใช้สิทธิลงคะแนนให้กับผู้สมัคร ดังนั้นพรรคการเมืองแต่ละพรรคจึงมีคะแนนจัดตั้งที่แตกต่างกัน โดยผลการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคพลังชล ได้รับเลือก…

Continue Readingทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี (3)

ทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี (2)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

งานวิจัยของ โอฬาร ถิ่นบางเตียว (2554) และ บทความของ โอฬาร ถิ่นบางเตียว (2556) ได้ศึกษาโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในภาคตะวันออก โดยมีคำถามสำคัญคือ เพื่อโต้แย้งความเชื่อที่ว่า กำนันเป๊าะเป็นเจ้าพ่อภาคตะวันออกของนักวิชาการและสื่อมวลชนในขณะนั้น ด้วยการวิจัยเพื่อศึกษาอำนาจท้องถิ่นในภาคตะวันออกด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ จากนิยามของผาสุก พงษ์ไพจิตร ที่อธิบายว่า “เจ้าพ่อท้องถิ่นเป็นนาทยทุนท้องถิ่นที่มีอิทธิพลเหนือกฎหมายและเข้าไปมีบทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่นและ/หรือระดับชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยไม่จำเป็นต้องทำผิดกฎหมายหรือใช้ความรุนแรง” นั้น โอฬาร พบว่า ทุกจังหวัดภาคตะวันออกมีนายทุนท้องถิ่นที่มีอิทธิพลเหนือกฎหมายและเข้าไปมีบทบาทควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองในทุกระดับทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยไม่จำเป็นต้องทำผิดกฎหมาย ภาคตะวันออกจึงไม่ได้มีเจ้าพ่อเพียงคนเดียว ดังนั้น กำนันเป๊าะไม่ได้เป็นเจ้าพ่อภาคตะวันออก กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในแต่ละจังหวัดของภาคตะวันออกต่างก็มีกลุ่มอำนาจทางการเมืองหรือกลุ่มชนชั้นนำท้องถิ่นประจำอยู่ทุกจังหวัด เช่น นอกจากตระกูลคุณปลื้มแล้ว ในภาคตะวันออกยังมีตระกูลเทียนทอง…

Continue Readingทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี (2)