ผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง

            โดยทั่วไปการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงจากการลงทุนเสมอ และความเสี่ยงจากการลงทุนมีหลายรูปแบบ เช่น ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับคืนเงินที่ลงทุน ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ความเสี่ยงตลาด ความเสี่ยงสภาพคล่อง เป็นต้น             อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนไม่ชอบและต้องการหลีกเลี่ยงมากที่สุดคือความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ หรือความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับคืนเงินที่ลงทุน หรือกล่าวอีกนัยคือความเสี่ยงที่จะสูญเสียดอกเบี้ยและเงินต้นที่นำมาลงทุนนั่นเอง ซึ่งจะเรียกความเสี่ยงประเภทนี้ว่า Default risk             ในทฤษฎีการลงทุนระบุว่าการลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาล เช่น พันธบัตรรัฐบาล เป็นการลงทุนที่ไม่มีความความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่มี นั่นเอง แต่ยังคงมีความเสี่ยงประเภทอื่นๆ เช่น ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ความเสี่ยงตลาด ความเสี่ยงสภาพคล่อง เป็นต้น

Continue Readingผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง

ผลตอบแทนกับความเสี่ยง

การลงทุนใดๆ ย่อมมีความเสี่ยงในการลงทุนเสมอ เรามักจะได้ยินเสมอว่า การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจะให้ผลตอบแทนสูง หรือ High risk high return ทั้งนี้ เพราะโดยธรรมชาติของผู้ลงทุนจะไม่ชอบความเสี่ยง ดังนั้นหากการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนอื่นโดยที่คุณสมบัติอื่นเหมือนกันทุกประการแล้วการลงทุนนั้นย่อมไม่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน ดังนั้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนอื่นจึงต้องเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนอื่นเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนสนใจมาลงทุน ผลตอบแทนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนั้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้นนั้นเอง เรียกว่า “ส่วนชดเชยความเสี่ยง” หรือ “Risk premium” ดังนั้นยิ่งการลงทุนมีความเสี่ยงมากเท่าไร ย่อมต้องมีส่วนชดเชยความเสี่ยงมากขึ้น ทำให้การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงยิ่งต้องให้ผลตอบแทนสูงนั่นเอง

Continue Readingผลตอบแทนกับความเสี่ยง

การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการตัดสินใจ: ผลิตต่อหรือขาย ณ จุดแยกออก

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ลักษณะทั่วไปของสถานการณ์: กระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดสินค้า ณ จุดแยกออก (Split-off) หลายชนิด กิจการอาจเลือกที่จะขายสินค้าบางชนิดทันที ณ จุดแยกออก หรือสินค้าบางชนิดกิจการอาจนำไปผลิตต่อเพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (ราคาขายสูงขึ้น) แต่การนำสินค้าไปผลิตต่อต้องมีต้นทุนเพิ่มเติม ข้อมูลที่ต้องใช้และเกณฑ์การตัดสินใจ: ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย (1) ราคาขาย 2 จุดเวลาคือ จุดแยกออกและหลังการผลิตต่อ (2) ต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีที่กิจการประสงค์จะผลิตต่อ สำหรับเกณฑ์การตัดสินใจนั้นเป็นการเปรียบเทียบรายได้ส่วนเพิ่ม (ราคาขายหลังผลิตต่อกับราคาขาย ณ จุดแยกออก) กับต้นทุนการผลิตต่อ หากรายได้ส่วนเพิ่มสูงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม กิจการก็ควรนำสินค้าชนิดนั้นไปผลิตต่อ ในทางตรงกันข้าม หากรายได้ส่วนเพิ่มต่ำกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม…

Continue Readingการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการตัดสินใจ: ผลิตต่อหรือขาย ณ จุดแยกออก