การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลัง อปท. ด้านรายได้

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลัง อปท. ด้านรายได้[1]                    การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคลังของ อปท. สามารถทำได้โดยวิธีการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลังทั้งทางด้านรายได้และด้านรายจ่าย กล่าวคือ                    1. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลังทางด้านการจัดหารายได้ ในส่วนนี้นั้นจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของ อปท. เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. ซึ่งจากการจัดหารายได้ของ อปท. ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรในสัดส่วนที่มากที่สุดจากบรรดารายได้ทุกประเภทของ อปท. ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารด้านการคลังได้ดีที่สุดคือการดำเนินงานใน 2 แนวทางหลักคือ 1) การปรับปรุงการบริหารการคลังด้านการจัดหารายได้ของ อปท.ตามอำนาจหน้าที่ และ 2) การสร้างแหล่งรายได้ใหม่…

Continue Readingการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลัง อปท. ด้านรายได้

การบริหารการคลังท้องถิ่นกับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การบริหารการคลังท้องถิ่นกับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance: NPG)[1]                     การบริหารภาครัฐถือเป็นกลไกในการนำเอายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลไปดำเนินการให้เกิดผลในรูปแบบของการบริการสาธารณะเพื่อแก้ไชปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนราชการทั้งส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น และยังรวมถึงรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและองค์กรภาครัฐอื่น การบริหารภาครัฐหรืออีกนัยหนึ่งก็คือการบริหารราชการแผ่นดินในหลายยุคหลายสมัยการมีแนวทางและรูปแบบที่ผ่านการพัฒนามาโดยตลอดจากอดีตจนถึงปัจจุบันดังจะเห็นได้จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีในปี พ.ศ. 2325 นั้นพระองค์ยังคงใช้รูปแบบและวิธีการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินที่เคยใช้มาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและสมัยกรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 –…

Continue Readingการบริหารการคลังท้องถิ่นกับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่

ปรากฎการณ์วิ่งไปแบงก์…แล้วถอนเงินไม่ได้ (Bank Run)

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต ปรากฎการณ์ที่เกิดเหตุการณ์ที่ผู้ฝากเงินพร้อมใจกันถอนเงินออกจากธนาคาร/สถาบันการเงิน  จนกระทั่งธนาคารไม่สามารถหาเงินมาให้กับทุกคนได้ในเวลาขณะนั้น เรียกว่า แบงก์รัน (Bank Run) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณอันตรายที่เกิดขึ้นจากคำว่า “เชื่อมั่น” โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนจำนวนมาก  โดยประชาชนเกิดความกลัวว่าสถาบันการเงินกำลังจะล้มละลาย จึงทำให้ไม่มีความเชื่อมั่นด้วยการแห่กันไปถอนเงินกันอย่างบ้าคลั่ง ในที่สุดสถาบันการเงินไม่มีเงินสดเพียงพอให้ถอนในวันนั้น นำไปสู่ “ข่าวลือ” ว่าสถาบันการเงินไม่มีเงิน  สำหรับบทความนี้จะนำเสนอเรื่องราวของปรากฏการณ์แบงก์รัน         ปรากฎการณ์แบงก์รันที่ถูกกล่าวขานกันในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อราว ค.ศ. 1929 (พ.ศ. 2472) ในช่วงเวลานั้นตลาดหุ้นสหรัฐตกต่ำ และประชาชนมีความอ่อนไหวต่อข่าวลือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางการเงินที่กำลังจะเกิดขึ้น และยิ่งเป็นการสร้างกระแสความแตกตื่นให้กับผู้ฝากเงินกับธนาคาร โดยใน…

Continue Readingปรากฎการณ์วิ่งไปแบงก์…แล้วถอนเงินไม่ได้ (Bank Run)