คุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ

คุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพจะมีคุณสมบัติ 5 ประการที่สำคัญ การพัฒนาคุณสมบัติทั้งห้าประการเหล่านี้ขึ้นมาจะทำให้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  (Michiganstateuniversityonline, 2023) (Lunenburg, 2010) สำหรับสาระสำคัญ มีดังนี้  1. ความยืดหยุ่นในการเปิดรับการเปลี่ยนแปลง (Flexibility) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จจะมีความยืดหยุ่นและพร้อมเปิดรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ผู้นำจำเป็นต้องมีทัศนคติแบบผู้ประกอบการ ผู้นำต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อค้นหาวิธีที่แปลกใหม่สำหรับธุรกิจที่จะเติบโตและใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มี ซึ่งรวมถึงการใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ของผู้อื่นโดยการเชื่อมต่อกับผู้คนทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ รวมถึงที่มีอายุและภูมิหลังที่แตกต่างต่างกันเพื่อทำความเข้าใจมุมมอง ประสบการณ์ และบุคลิกภาพที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 2. ความรู้ที่หลากหลาย (Diversified Knowledge)   ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะหลีกเลี่ยงการติดอยู่กับความรู้ที่มีในขอบเขตของหน่วยงานของตนเอง (หรือความรู้ที่มีในอุตสาหกรรมของตนในกรณีภาคธุรกิจ) โดยจะทำการพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นในภาคส่วนอื่นๆประกอบ และจะพิจารณาดูว่าความรู้อะไรที่ใช้ได้ผลและใช้ได้กับหน่วยงานของตนได้ดี (หรือใช้ได้กับอุตสาหกรรมของตน)…

Continue Readingคุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ

สมรรถนะของผู้นำเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง

ในการบริหารงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงควรมีสมรรถนะที่สำคัญ 8 ประการ (Quinn, 2009) ดังนี้ 1) สมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยง (mentor) ผู้บริหารควรเป็นผู้นำที่มีความเอื้ออาทรความห่วงใยในการแนะนำ การสอนงานให้กับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงาน ด้วยความเมตตา ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ โดยต้องมีสมรรถนะมีความเข้าใจในตนเองและผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี มีความสามารถในการอธิบาย สั่งงาน ติดต่อสื่อสารในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าใจในเป้าหมายของหน่วยงาน 2) สมรรถนะการเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) มีลักษณะเป็นสมรรถนะเกี่ยวกับการเป็นผู้บริหารจัดการทีมงานที่ดี เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีความสามารถในการบริหารจัดการความขัดแย้งได้ดี เพื่อให้เกิดความเชื่อถือความไว้วางใจ สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานและสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน 3) สมรรถนะการเป็นผู้ติดตาม กำกับ…

Continue Readingสมรรถนะของผู้นำเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง

แนวคิดการบริหารดุลการคลังท้องถิ่น 

ดุลการคลังท้องถิ่น (Local-fiscal balance) เป็นการศึกษาถึงความสมดุลหรือไม่สมดุลของการ กระจายอำนาจทางการคลังที่เกิดขึ้นในระบบการบริหารการคลังของรัฐบาล จัดเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐบาล (intergovernmental relation) ในทางการคลังรูปแบบหนึ่ง (Boadway and Hobson, 1993) เป็นการพิจารณาระดับความไม่ สมดุลทางการคลังที่เกิดขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีตัวแสดงในฐานะรัฐบาลมากกว่าหนึ่งรัฐบาลและ มากกว่าหนึ่งระดับ เช่น รัฐบาลละดับชาติหรือรัฐบาลกลาง รัฐบาลระดับมลรัฐหรือรัฐบาลระดับภูมิภาค และ รัฐบาลระดับท้องถิ่น/ชุมชนท้องถิ่น โดยในทางการปกครอง  รัฐบาลระดับชาติหรือรัฐบาลกลางจะเป็นผู้เก็บ รวบรวมภาษีส่วนใหญ่ของประเทศ ในขณะที่รัฐบาลในระดับท้องถิ่น จะเป็นผู้จัดบริการสาธารณะส่วนใหญ่โดย ใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวนมากกว่ารายได้หรือภาษีอากรที่ตนเองมีอำนาจจัดเก็บได้โดยตรง ซึ่งเป็นที่มาของ ความแตกต่างและความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในการบริหารการคลังระหว่างรัฐบาลทั้งแนวตั้ง…

Continue Readingแนวคิดการบริหารดุลการคลังท้องถิ่น