กรณีสภาผู้นำในการขับเคลื่อนชุมชนบริหารจัดการตนเองขององค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

เมื่อปี พ.ศ. 2560 องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ได้พัฒนาศักยภาพทุนท้องถิ่นด้วย แนวคิดสภาผู้นำในการขับเคลื่อนผักไหมชุมชนบริหารจัดการตนเอง พัฒนาบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม เป็นพี่เลี้ยง 20 คน ที่มีสมรรถนะในการหนุนเสริมชุมชน 17 หมู่บ้าน 1,230 ครัวเรือน 6,459 คน( พ.ศ. 2560) ผ่านสภาผู้นำ 626 คน ซึ่งสมาชิกสภาผู้นำชุมชน  มาจากกรรมการหมู่บ้าน(กม.) เป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง ประชาคม เสนอชื่อและสมัครใจเข้าร่วม จากทุกกลุ่ม…

Continue Readingกรณีสภาผู้นำในการขับเคลื่อนชุมชนบริหารจัดการตนเองขององค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

กรณีชุมชนแห่งความดีและความสุข ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

แนวคิดการนำทุนท้องถิ่นมาสร้างชุมชนแห่งความดีและความสุขของเทศบาลตำบลหนองสาหร่าย เป็นแนวคิดในการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนตำบลหนองสาหร่าย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชุมชนที่ให้บริการแก่ประชาชนใน 9 หมู่บ้านของตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งได้รับรางวัลคุณธรรมแห่งชาติ จากศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) จากการที่สถาบันการเงินแห่งนี้สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนให้สามารถปลดแอกจากปัญหาหนี้สินที่มีมูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท โดยใช้ “ความดี” เป็นเครื่องมือของการพัฒนาและมี “ความสุข” เป็นเป้าหมายร่วมกัน (ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน), มปป.: ออนไลน์) จุดเริ่มต้นของแนวคิดชุมชนแห่งความดีและความสุข เนื่องจากภาพตำบลหนองสาหร่าย ในความทรงจำของคนในอดีตเต็มไปด้วยความสุข อยู่กันอย่างญาติมิตร ผู้คนมีชีวิตที่เรียบง่าย หาอยู่หากินกันได้ไม่อัตคัดขัดสน จนกระทั่งเมื่อความเจริญรุกเข้ามา พร้อมกับค่านิยมที่ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางการเงิน…

Continue Readingกรณีชุมชนแห่งความดีและความสุข ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

ความสำคัญของการจัดการทุนท้องถิ่น

ความสำคัญของการจัดการทุนท้องถิ่น จากที่ศึกษาจากเอกสารต่างๆ พบว่ามีหลายประการ แต่ในการนำเสนอส่วนนี้จะแยกเป็น 2 ประการ ได้แก่ ความสำคัญต่อการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการพัฒนาท้องถิ่น ดังนี้ 1. ความสำคัญต่อการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดการทุนท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1) ทำให้การดำเนินงานตามภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการใช้ทรัพยากรการบริหารเป็นไปเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้การจัดการทุนภายในท้องถิ่นที่มีอยู่ให้ดีเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นที่ชัดเจน ประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมุ่งสู่การจัดการท้องถิ่นเพื่อต้นทุนที่ถูกกว่า ดีกว่า เร็วกว่า บริการที่เป็นเลิศกว่า           2) การจัดการทุนท้องถิ่นเป็นไปเพื่อให้สอดคล้องและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่ทุนท้องถิ่นจะต้องมีการใช้เป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนความสำเร็จขององค์การ เนื่องจากการจัดการทุนท้องถิ่นเป็นภารกิจที่ผู้บริหารจะใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน จัดการองค์การ…

Continue Readingความสำคัญของการจัดการทุนท้องถิ่น