การเข้าสู่สายวิชาชีพตรวจสอบภายใน

ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมและสนับสนุนการทำงาน โดยมีความรู้ ความสามารถในการนำมาตราฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายในมาประยุกต์กับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัจจุบันของกิจการสำหรับการปฎิบัติ ซึ่งความรู้ความสามารถอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความรู้ทางบัญชี เศรษฐศาสตร์ กฎหมายธุรกิจเป็นต้น ซึ่งการคัดเลือกผู้ตรวจสอบภายในที่มีความรู้ความสามารถ บุคลิกภาพที่เหมาะสม สามารถทำได้ทั้งในกรณีที่เป็นการคัดเลือกผู้มีความสามารถจากภายในองค์กร และสรรหาจากภายในนอกองค์กร โดยนอกจากประสบการณ์การทำงานที่ตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายในแล้วก็ยังมัประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถเอื้อกับการทำงานเป็นข้อหนึ่งที่นำมาร่วมในการพิจารณาในการคัดเลือกเข้าทำงาน          ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่จำกัดสาขาสามารถทำงานและสอบวุฒิบัตรตรวจสอบภายในได้ โดยมีรายละเอียดของวุฒิบัตรที่เกี่ยวข้องดังนี้ ตัวอย่างประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพตรวจสอบภายใน ณ ที่นี้ขอแบ่งประเภทตามผู้จัดสอบดังนี้ ประกาศนียบัตรที่จัดสอบโดย สถาบันผู้ตรวจสอบภายในสากล : IIAประกาศนียบัตรที่จัดสอบโดย สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย : IIATประกาศนียบัตรที่จัดสอบโดยInformation Systems Audit and Control Associate: ISACAประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาตสากล (CIA)ประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในของประเทศไทย(CPIAT)Certified…

Continue Readingการเข้าสู่สายวิชาชีพตรวจสอบภายใน

ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานตรวจสอบภายในกับคณะกรรมการตรวจสอบ

งานการตรวจสอบภายในจะต้องสะท้อนความเป็นอิสระและการเป็นที่ยอมรับภายในองค์กร ดังนั้นหน่วยงานตรวจสอบภายในจึงอยู่โครงสร้างองค์กรในระดับสูงพอที่จะทำให้ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานตรวจสอบภายใน สามารถรายงานตรงต่อผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจเพียงพอที่จะส่งเสริมความเป็นอิสระของผู้ตรวจสอบภายในและนำข้อมูลสารสนเทศจากหน่วยงานตรวจสอบภายในไปใช้ได้อย่างเหมาะสม โครงสร้างของหน่วยงานตรวจสอบภายในในองค์กรจึงมีความสำคัญ โดยหลักการแล้วมีโครงสร้างองค์กร 3 แบบ คือ                          1. หน่วยงานตรวจสอบภายในรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริษัท                         2. หน่วยงานตรวจสอบภายในรายงานตรงต่อกรรมการผู้จัดการ                         3. หน่วยงานตรวจสอบภายในรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ             ปัจจุบันแบบโครงสร้างที่นิยมคือ หน่วยงานตรวจสอบภายในรายงานต่อตรงคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีข้อกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อกำกับดูลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนให้ได้มาตรฐานและเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง การที่บริษัทจดทะเบียนมีคณะกรรมการตรวจสอบจะสามารถช่วยสนับสนุนความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน หน่วยงานตรวจสอบภายในจึงมีภารกิจที่ต้องสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหน่วยงานตรวจสอบภายในและคณะกรรมการตรวจสอบจึงต้องมีการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกโดยตรง             หน่วยงานตรวจสอบภายในต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ โดยทั่วไปอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง โดยคณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้นโยบายสอบทานแผนการตรวจสอบภายใน ให้การสนับสนุนและสร้างผู้ตรวจสอบภายในให้สามารถปฏิบัติงานตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมและอย่างมีความอิสระ             ผู้ตรวจสอบภายในเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญของคณะกรรมการตรวจสอบในส่วนที่เกี่ยวกับการสอบทานความถูกต้องของรายงานทางการเงิน ความเพียงพอในการเปิดเผยข้อมูลกระบวนการควบคุมภายในและกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทในด้านต่างๆ รวมทั้งผู้ตรวจสอบภายในยังเป็นผู้ทำการสอบทานด้านการปฏิบัติงานขององค์กรให้เป็นไปตามกฎหมายด้วยภาระหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและผู้ตรวจสอบภายในจึงมีลักษณะของความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิด…

Continue Readingความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานตรวจสอบภายในกับคณะกรรมการตรวจสอบ

ประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพตรวจสอบภายใน

 ลักษณะของประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพตรวจสอบภายใน (Code of Ethical) โดยคำว่า จรรยาบรรณ มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุว่า“ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้” และคำว่า วิชาชีพ หมายถึง “วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ”ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า จรรยาบรรณวิชาชีพ คือ  ประมวลที่กำหนดในเรื่องของความพระพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ เพื่อให้เกิดการรักษา ส่งเสริมวิชาชีพ โดยประมวลอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร             สำหรับวิชาชีพตรวจสอบภายใน กำหนดโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายในสากล (The Institute of Internal Auditors: IIA) ได้กำหนดหัวข้อประมวลจรรยาบรรณ (Code of ethics)บรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางหลัก (Mandatory Guidance) ในมาตรฐานสากลสำหรับการปฎิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน…

Continue Readingประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพตรวจสอบภายใน