ปัญหาเงินอุดหนุนและการจัดสรรเงินอุดหนุนของไทย

1.ปัญหาการพึ่งพิงเงินอุดหนุนและสัดส่วนของเงินอุดหนุนที่สูงของไทย  เงินอุดหนุนมีปริมาณที่สูงโดยมีปริมาณสูงกว่าร้อยละ 41.23 ของรายได้ท้องถิ่นทั้งหมด (ข้อมูลในปี 2564 ตามตารางที่ 1 ) ซึ่งขัดต่อหลักการพึ่งพาตนเองทางการคลัง ทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นขาดความกระตือรือร้นในการหารายได้ด้วยตนเองและรอคอยการช่วยเหลือจากส่วนกลางพึ่งพิงและสนองตอบต่อความต้องการของนักการเมืองระดับชาติมากกว่าประชาชน วัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการกำหนดให้มีเงินอุดหนุนแก่ท้องถิ่นนั้นเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ แต่ที่ผ่านมาการใช้เงินอุดหนุนเป็นไปในทิศทางที่ไม่เหมาะสม ขาดหลักการและความคงเส้นคงวา และเป็นไปตามความต้องการของนักการเมืองระดับชาติซึ่งในความเป็นจริงแล้วสัดส่วนของเงินอุดหนุนต่อรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการแล้วควรจะอยู่ในระดับที่ต่ำเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ท้องถิ่นพึ่งพารายได้ของตนเองเป็นหลัก ตารางที่ 1 แสดงสัดส่วนร้อยละของรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ปีงบประมาณ 2559-2564 ปีงบประมาณรายได้ที่อปท.จัดหาเอง (ร้อยละ)รายได้ที่รัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้ (ร้อยละ)ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลแบ่งให้ (ตามพรบ.กำหนดแผนฯ) (ร้อยละ)เงินอุดหนุน (ร้อยละ)รวม (ร้อยละ)255910.6733.3616.6139.36100.00256016.2831.8116.1435.77100.00256115.5431.8915.9536.61100.00256214.9031.9816.3736.74100.00256314.4331.0916.3038.19100.00256411.5831.9815.2141.24100.00 ที่มา : ปรับจากสำนักนโยบายการคลัง…

Continue Readingปัญหาเงินอุดหนุนและการจัดสรรเงินอุดหนุนของไทย

แนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นแนวทางตามมติคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมอบหมายใหสำนักงบประมาณและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. ประเภทเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โดยจะต้องมีสัดส่วนเงินอุดหนุนทั่วไปมากกว่าเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 2. การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท ให้จัดสรรเงินอุดหนุนเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 2 เมืองพัทยา และกลุ่มที่ 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล…

Continue Readingแนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เหตุผลของการมีเงินอุดหนุน

การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถให้กับท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะได้ตามมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนดและเพื่อลดช่องว่างระหว่างท้องถิ่นที่มีฐานะทางการคลังที่แตกต่างกัน โดยสามารถดำเนินการตามนโยบายของรัฐหรือแก้ไขปัญหาที่เกินขีดความสามารถด้านการคลังได้  รวมถึงเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสารถในการพึ่งพาตนเองทางการคลังบนพื้นฐานรายได้ของตนเองได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เหตุผลของการมีเงินอุดหนุน การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเหตุผลที่สำคัญ ดังนี้ 1) เงินอุดหนุนทำหน้าที่เพื่อลดช่องว่างฐานะทางการคลังของท้องถิ่น ซึ่งฐานะทางการคลังของแต่ละท้องถิ่นนั้นมีลักษณะแตกต่างกันค่อนข้างมาก เงินอุดหนุนจึงทำหน้าที่ปิดช่องว่างระหว่างรายจ่ายกับรายได้(fiscal gap)  นอกจากนี้การจัดสรรเงินอุดหนุนยังเป็นกลไกที่สำคัญเพื่อส่งเสริมความเสมอภาค (equalization) ของแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย  ทั้งนี้เพราะความสามารถจากการจัดเก็บรายได้และการคลังของท้องถิ่นแต่ละแห่งไม่เท่าเทียมกัน (Robin Boadway,2007) สำหรับในประเทศไทยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 ประเภท ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล หากพิจารณาตัวเลขรายได้เงินอุดหนุนของท้องถิ่นแต่ละประเภทจะพบว่ามีฐานะทางการเงินการคลังที่แตกต่างกัน การจัดสรรเงินอุดหนุนจะเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น…

Continue Readingเหตุผลของการมีเงินอุดหนุน