1 การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

บริษัทจำเป็นต้องมีการจัดโครงสร้างธุรกิจให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความชัดเจน มีการจัดโครงสร้างคณะกรรมการในฐานะตัวแทนของผู้ถือหุ้น ให้มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน เพื่อประสิทธิภาพในการกำหนดนโยบาย ทิศทางธุรกิจ และการประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย และเป็นประโยชน์สูงสุดของบริษัทอย่างสมดุลจากโครงสร้างธุรกิจเดิมที่ผู้บริหารมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ตนเองเป็น CEO ภรรยาเป็นผู้ควบคุมด้านการเงิน พี่ๆน้องๆเป็นผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนให้โครงสร้างธุรกิจมีความชัดเจน ป้องกันการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย มีการดำเนินงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ 1 จัดโครงสร้างบริษัทที่ทำธุรกิจพึ่งพิงกัน (Business Value Chain) ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันก่อนเข้าตลาด ถ้ามีบริษัทของผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ต้องซื้อขายสินค้า กับกลุ่มบริษัทในปริมาณที่สูงเป็นประจำ ควรต้องนำบริษัทเข้ามาอยู่ในกลุ่มบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียน เช่น…

Continue Reading1 การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียน

2 ระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในของบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ระบบการจัดทำงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี เพื่อสะท้อนความสามารถในการดำเนินงานของกิจการได้อย่างถูกต้อง จากเดิมกิจการที่เป็นบริษัทจำกัดจะทำบัญชีเพื่อยื่นต่อกรมสรรพากร และชำระภาษีปีละหนึ่งครั้ง อาจมีการลงรายการบัญชีไม่สอดคล้องกับธุรกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งยังถือเป็นระบบของบัญชีกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities: NPAEs)  ซึ่งเมื่อปรับเป็นบริษัทมหาชนเพื่อเข้าจดทะเบียนทำให้กิจการจะกลายเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities: PAEs) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เรียกว่า Thai Financial Reporting Standards หรือ TFRS  โดยบริษัทมหาชนที่จะเข้าจดทะเบียนต้องมี Chief Financial Officer (CFO) ซึ่งเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงินของกิจการ และมีสมุห์บัญชี หรือ…

Continue Reading2 ระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในของบริษัทจดทะเบียน

คุณภาพกำไร (5): การวัดคุณภาพกำไรจากงบกระแสเงินสด (ต่อ)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

จาก Blog ที่แล้ว ได้กล่าวถึงอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดคุณภาพกำไรจากงบกระแสเงินสดไปแล้ว 3 อัตราส่วนคือ (1) ความเพียงพอของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (2) ดัชนีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน และ (3) ผลกระทบของค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจำหน่ายที่มีต่อกระแสเงินสด สำหรับใน Blog นี้จะได้กล่าวถึงอีก 4 อัตราส่วน คือ           4. อัตราการนำเงินไปลงทุนต่อ (Reinvestment Ratio) ใช้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเงินสดที่จะต้องนำไปลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนว่ามีมากหรือน้อยกว่าเงินสดที่ได้รับจาการขายสินทรัพย์ หากมีมากกว่า 1 แสดงว่ากิจการจะต้องหาแหล่งเงินทุนอื่นเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน คำนวณได้โดย                 เงินลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน…

Continue Readingคุณภาพกำไร (5): การวัดคุณภาพกำไรจากงบกระแสเงินสด (ต่อ)