การเจรจาต่อรองด้านการจ้างงานก่อสร้าง

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

          การเจรจาต่อรองด้านการจ้างงาน เป็นกระบวนการเจรจาร่วมกันของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน ผ่านขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้ทั้งสองฝ่ายนั้นตกลงกันได้(ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม, 2558)           การเจรจาต่อรองด้านการจ้างงานนับว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีอย่างหนึ่ง ที่มีผลทำให้เกิดการประนีประนอมระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างงานและปัญหาในการปฏิบัติงาน ทำให้บรรเทาความรุนแรงในการเผชิญกับข้อขัดแย้งทางด้านแรงงาน รวมทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ให้แก่ลูกจ้างอย่างเป็นธรรมอีกด้วย           เหตุผลที่จำเป็นต้องมีการเจรจาต่อรองด้านการจ้างงาน มีดังนี้คือ กระบวนการเจรจาต่อรองและผลจากการเจรจาต่อรองนั้นก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างลูกจ้างและนายจ้างการเจรจาต่อรองเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่งของการแก้ไขข้อพิพาททางด้านแรงงานที่สังคมยอมรับในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่ดีกว่าการเจรจาต่อรอง ที่ทำให้ทราบถึงความต้องการและเหตุผลที่แท้จริงของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ในการรักษาผลประโยชน์ทั้งของตนและของทั้งสองฝ่าย วัตถุประสงค์ในการเจรจาต่อรองด้านการจ้างงาน           การเจรจาต่อรองร่วมกันระหว่างฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง แบ่งวัตถุประสงค์ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ วัตถุประสงค์ตามความต้องการของฝ่ายนายจ้าง และวัตถุประสงค์ตามความต้องการของฝ่ายลูกจ้าง           1.…

Continue Readingการเจรจาต่อรองด้านการจ้างงานก่อสร้าง

การเจรจาต่อรองด้านการเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้าง

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ในกระบวนการทำงานก่อสร้าง เมื่อการก่อสร้างดำเนินไปได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งก็อาจจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงงานเกิดขึ้น โดยแบ่งการเปลี่ยนแปลงงานที่เกิดขึ้นออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการออกแบบและขั้นตอนการก่อสร้าง ทั้งนี้ในการเปลี่ยนแปลงงานแต่ละขั้นตอนต่างก็มีสาเหตุและลักษณะการเปลี่ยนแปลงงานที่แตกต่างกันไป การเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนการออกแบบ           โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงงานในขั้นตอนนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงงานที่มีสาเหตุจากเจ้าของโครงการเป็นหลัก ดังนี้คือ 1. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในด้านรูปแบบของโครงการ (Programmatic change) ในฐานะเจ้าของโครงการในบางครั้งเมื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ ทั้งจากสภาพทางกายภาพ เศรษฐกิจ การลงทุน สังคมและสิ่งแวดล้อมแล้ว อาจมีผลทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย รายละเอียด หรือรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโครงการไปจากที่กำหนดไว้เดิม โดยอาจเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเพียงบางส่วนหรืออาจเปลี่ยนแปลงทั้งโครงการ เช่น การเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยพื้นที่ภายในอาคารจากห้องประชุมเป็นห้องอาหาร หรือการยกเลิกพื้นที่สำนักงานบางส่วนออกไปจากโครงการ เป็นต้น 2. การเปลี่ยนแปลงในด้านงานระบบ (System…

Continue Readingการเจรจาต่อรองด้านการเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้าง

การเจรจาต่อรองด้านสัญญาก่อสร้าง

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

          การเจรจาต่อรองนับเป็นศิลปะของการได้มาซึ่งความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อันมีผลต่อความสำเร็จของโครงการ หรือมีผลทำให้โครงการเป็นที่พอใจของลูกค้าหรือเจ้าของโครงการทั้งสิ้น การเจรจาต่อรองด้านสัญญานับเป็นกลไกสำคัญในกระบวนการก่อสร้างที่ค่อนข้างยุ่งยากและเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกัน ข้อยุติจากการเจรจาต่อรองในด้านสัญญาก่อสร้างนี้จะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายได้รับเงื่อนไขที่พึงพอใจ(ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม, 2558)           การเจรจาต่อรองด้านสัญญาก่อสร้างนั้นเกิดขึ้นใน 2 ช่วงเวลาคือ การเจรจาก่อนการลงนามในสัญญา และ การเจรจาภายหลังการลงนามในสัญญา โดยก่อนการลงนามในสัญญานั้นจะต้องทำการเจรจาต่อรองในร่างสัญญาก่อสร้างก่อน ซึ่งรายละเอียดสำคัญที่จะต้องเจรจาประกอบด้วย แบบรูปและรายการละเอียด ระยะเวลาการดำเนินงาน ราคาต้นทุนการก่อสร้าง การแบ่งงวดการก่อสร้าง เงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญา กระบวนการและเทคนิคการทำงาน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆ การประกันภัย การรับประกันผลงาน ความต้องการและมาตรฐานทางด้านความปลอดภัย กระบวนการของอนุญาโตตุลาการเมื่อเกิดข้อโต้แย้งในการทำงาน รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ…

Continue Readingการเจรจาต่อรองด้านสัญญาก่อสร้าง