การรับมือโควิด-19 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกแรก

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกแรก ถือเป็นการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน ก่อนหน้านี้จะเห็นว่าบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับมือกับโรคระบาดต่าง ๆ เช่น ไข้เลือดออก พิษสุนัขบ้า ไข้หวัดใหญ่ หรือบทบาทในการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย และอัคคีภัย หากแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในครั้งนี้นับเป็นเรื่องใหม่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เคยดำเนินการมาก่อน ซึ่งเป็นการดำเนินบทบาทในการรับมือและการจัดการกับภัยพิบัติทางชีวภาพหรือภัยพิบัติทางด้านสาธารณสุขในระดับชุมชน ดังนั้นประเด็นดังกล่าวนี้นำไปสู่การสำรวจบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการวิกฤติท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกแรกที่ผ่านมานี้ว่ามีกลไกการบริหารจัดการในระดับท้องถิ่นอย่างไรบ้าง ดังนี้ ประมาณเดือนมกราคม 2563 ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศยกระดับการรับมือกับไวรัสโควิด-19 ครั้งใหญ่เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสทั่วประเทศ โดยออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมรับมืออย่างทันท่วงที ประเด็นสำคัญต่อมาคือ เริ่มเห็นคำสั่ง มาตรการ และข้อปฏิบัติต่าง…

Continue Readingการรับมือโควิด-19 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกแรก

โครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในภาวะวิกฤติโควิด-19

หากย้อนดูโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในภาวะวิกฤติโควิด-19 จะเห็นโครงสร้างการบริหารราชการที่มีความซ้อนกันอยู่หลายชั้น กล่าวคือ ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษตามมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 รวมถึงมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เพื่อควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตเลือกตั้งทั่วราชอาณาจักรแล้วนั้น กฎหมายพิเศษฉบับนี้ยังให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสามารถจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ย่อยในด้านต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งหนึ่งใน ศบค. ย่อยเหล่านั้นที่จัดตั้งขึ้นมาเพิ่มเติม นั่นก็คือ “ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย หรือมีชื่อว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19…

Continue Readingโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในภาวะวิกฤติโควิด-19

มารู้จักคำว่า  New Public Governance (NPG) ตามที่ Stephen P. Osborne (2010) นำเสนอกัน 

New Public Governance (NPG) หรือที่เรียกกันว่า การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ นั้น Stephen P. Osborne นักวิชาการชาวสก๊อตแลนด์ได้เสนอว่าเป็นกระบวนทัศน์ (Paradigm) ล่าสุดของรัฐประศาสนศาสตร์ โดย Osborne (2010) ได้ทำการจัดกลุ่มความหมายของคำว่า การจัดการปกครอง (Governance)  ออกเป็น 3 สำนักคิดเพื่อให้เข้าใจ New Public Governance (NPG) มากขึ้น ดังนี้ 1.การบริหารปกครองแบบบรรษัท (Corporate…

Continue Readingมารู้จักคำว่า  New Public Governance (NPG) ตามที่ Stephen P. Osborne (2010) นำเสนอกัน