หลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากร: ประเด็นเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล (4)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

มาตรา 65 ตรี (บางส่วน) หลักเกณฑ์ทางภาษี: เงินสำรองต่าง ๆ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เว้นแต่ (1) สำรองเบี้ยประกันชีวิต ไม่เกิน 65% (2) สำรองเบี้ยประกันภัย ไม่เกิน 40% (3) สำรองหนี้สูญหรือสำรองหนี้สงสัยจะสูญ ที่ตั้งเพิ่มจากปีที่แล้ว (เฉพาะธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เท่านั้นที่ถือเป็นรายจ่ายได้ กิจการประเภทอื่นเป็นรายจ่ายต้องห้าม) หลักเกณฑ์ทางบัญชี: มีหลักฐานการจ่ายก็ถือเป็นรายจ่ายได้ แม้ว่าจะเป็นใบสำคัญจ่ายหรือใบสำคัญทั่วไป (กิจการจัดทำขึ้นเอง) กรณีสำรองหนี้สูญหรือสำรองหนี้สงสัยจะสูญ…

Continue Readingหลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากร: ประเด็นเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล (4)

หลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากร: ประเด็นเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล (3)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ใน 2 Blog ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้อธิบายความแตกต่างของหลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษี ในประเด็นด้านรายได้ไปแล้ว ใน Blog นี้ จะอธิบายความแตกต่างในประเด็นด้านรายจ่าย โดยเฉพาะในมาตรา 65 ทวิและ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้ มาตรา 65 ทวิ (บางส่วน) หลักเกณฑ์ทางภาษี: รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย หลักเกณฑ์ทางบัญชี: มีหลักฐานการจ่ายก็ถือเป็นรายจ่ายได้ แม้ว่าจะเป็นใบสำคัญจ่ายหรือใบสำคัญทั่วไป (กิจการจัดทำขึ้นเอง)…

Continue Readingหลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากร: ประเด็นเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล (3)

หลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากร: ประเด็นเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล (2)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ใน Blog ที่แล้ว ผู้เขียนได้เกริ่นความแตกต่างระหว่างเกณฑ์สิทธิซึ่งใช้ในทางภาษีอากร และเกณฑ์คงค้างที่ใช้ในทางบัญชีไปบ้างแล้ว ใน Blog นี้ จะได้อธิบายประเด็นความแตกต่างในรายละเอียด ดังนี้ หลักเกณฑ์ทางภาษี: สาระสำคัญคือ (1) หลักทั่วไปใช้เกณฑ์สิทธิ (2) มีบางกรณีที่ให้ใช้เกณฑ์อื่น (ดู ท.ป. 1/2528) เช่น (2.1) กิจการธนาคาร ดอกเบี้ยที่ไม่ได้รับติดต่อกัน 3 งวด ให้หยุดรายรับรู้รายได้ (เดือน 1 – 3…

Continue Readingหลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากร: ประเด็นเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล (2)