บทบาทและอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงในการบริหารราชการ

บทบาทและอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงในการบริหารราชการ           การดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมได้กำหนดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินสำหรับการบริหารราชการส่วนกลางในระดับกระทรวงที่เป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงที่จะต้องบริหารราชการเพื่อผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ ไว้ดังนี้           1. นายกรัฐมนตรี  ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้                       (1) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจงแสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ…

Continue Readingบทบาทและอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงในการบริหารราชการ

การบริหารการจัดการแบบเครือข่าย : เครื่องมือสำหรับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การบริหารจัดการแบบเครือข่าย : เครื่องมือสำหรับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่[1]                         การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ในการบริหารรัฐกิจแนวใหม่จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนที่  1  การกระจายอำนาจสู่รัฐบาลท้องถิ่นและภาคประชาสังคม  ส่วนที่ 2  การมีส่วนร่วมการจัดทำบริการสาธารณะจากภาคส่วนต่างๆ  และ และส่วนที่ 3 การ ดำเนินงานด้านการให้บริการสาธารณะของภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบของเครือข่าย ดังนั้นในการนำนโยบายสาธารณะโดยเฉพาะการจัดบริการสาธารณะไปสู่ประชาชน หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ (policy implementation) ตามกระบวนทัศน์การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่นั้นจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบของเครือข่ายซึ่งจะต้องมีวิธีการดำเนินงานด้วยวิธีการบริหารหรือการจัดการเครือข่ายที่ถูกต้องและเหมาะสม ในเรื่องการบริหารหรือการจัดการเครือข่ายนี้ นันธิดา จันทร์ศิริ[2] เห็นว่า…

Continue Readingการบริหารการจัดการแบบเครือข่าย : เครื่องมือสำหรับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่

การบริหารจัดการแบบเครือข่าย : ปัจจัย ความสำคัญ ลักษณะการกำเนิด

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การบริหารจัดการแบบเครือข่าย : ปัจจัย ความสำคัญ ลักษณะการกำเนิด[1] ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่าย  ด้วยเหตุที่ต้องการให้การดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการดำเนินภารกิจใดภารกิจหนึ่งให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นบุคคล กลุ่มคน หรือองค์การจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน สร้างวิธีการทำงานบนหลักการ “ร่วมด้วย ช่วยกัน” อันจะเป็นพลังผลักดันให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้ดีกว่า ใช้เวลาดำเนินงานที่สั้นกว่า และสามารถใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่แต่ละบุคคล กลุ่มคน หรือองค์การดำเนินงานแต่เพียงลำพัง สำหรับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องสร้างและพัฒนาเครือข่ายมีดังต่อไปนี้ 1) สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ของปัญหา การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลไปถึงความสามารถในการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มคน หรือองค์การให้สัมฤทธิผลได้ยากขึ้น การเปลี่ยนแปลงบางอย่างสร้างโอกาสให้เกิดผลสัมฤทธิ์ แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างสร้างภัยอุปสรรคในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายด้วยเช่นกัน ผลจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในประการหลังนี้ทำให้จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันทำงานให้สามารถเอาชนะภัยอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้  ทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมายที่ดีกว่า นอกจากนี้ผลจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมยังมีผลต่อเนื่องไปถึงสถานการณ์ของปัญหาที่องค์การประสบอยู่ในขณะนั้นๆ…

Continue Readingการบริหารจัดการแบบเครือข่าย : ปัจจัย ความสำคัญ ลักษณะการกำเนิด