จริยธรรมของผู้เสียภาษีอากร

จริยธรรม (ethics) มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ “ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม. โดยเป็นการประพฤติที่ดีเพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคม” หากเริ่มต้นจากตัวเราที่มีจริยธรรม ประชาชนรู้หน้าที่ของตนและหน้าที่พลเมือง ประพฤติตัวที่ดีก็จะส่งผลต่อการสร้างความเจริญก้าวหน้าในภาพรวมของประเทศ จริยธรรมของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร คือการเข้าใจถึงหน้าที่พลเรือนโดยการชำระภาษีให้แก่ภาครัฐ เพื่อนำเงินดังกล่าวไปพัฒนาบริหารประเทศที่จะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของสังคม โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีทำการยื่นแบบแสดงรายการการเสียภาษีตามความเป็นจริงอย่างครบถ้วนตามช่วงเวลาของภาษีแต่ละประเภทที่ตนเองอยู่ในข่ายการเสียภาษีประเภทนั้นๆ อย่างไรก็ตามการหนีภาษีหรือการหลีกเลี่ยงภาษี (Tax evasion) เป็นการใช้วิธีการผิดกฎหมายเพื่อทำให้เกิดการเสียภาษีมีจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชำระน้อยลงหรือไม่ต้องจ่ายชำระ (ปรัชญา ปิ่นมณี, 2554) อีกทั้ง เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม (2552) อ้างข้อมูลกรมสรรพากรในกรณีของประเทศไทยมีการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวนมาก…

Continue Readingจริยธรรมของผู้เสียภาษีอากร

ระบบการควบคุมภายในกิจการเพื่อความยั่งยืน

การที่กิจการจะพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นบริษัทมหาชนได้นั้น จำเป็นต้องมีระบบการควบคุมภายในที่เข้มแข็ง เพื่อป้องกันปัญหาภายในที่ไม่คาดคิด ตัวอย่างเช่น กิจการโดยทั่วไปที่ไม่มีระบบการควบคุมภายในดีนัก  มักพบว่ามีการใช้บุคลากรผู้เดียวทำหน้าที่หลายอย่าง เนื่องจาก ต้องการความรวดเร็ว สะดวก และประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด แต่ในทางตรงกันข้าม ก็อาจเป็นช่องทางของการรั่วไหล หรือ การทุจริตต่างๆ เช่น การให้ผู้รับเงิน กับ ผู้รักษาเงินของกิจการเป็นคนๆเดียวกัน หรือ กรณีผู้ขาย กับ ผู้ดูแลสต๊อกสินค้า เป็นคนเดียวกัน เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ในธุรกิจทั่วไปนั้น หากได้บุคลากรที่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และ มีความซื่อสัตย์ ก็จะทำให้กิจการประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า…

Continue Readingระบบการควบคุมภายในกิจการเพื่อความยั่งยืน

ข้อควรพิจารณาของการเป็นบริษัทจดทะเบียน

ข้อควรพิจารณาของการเป็นบริษัทจดทะเบียน การเปลี่ยนสภาพกิจการเป็นบริษัทมหาชนและขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชน หรือ ที่เรียกว่าการทำ IPO นั้นกิจการจำเป็นต้องพิจารณาถึงประโยชน์ และ ข้อจำกัดต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการนำธุรกิจเข้าสู่การเป็นบริษัทมหาชน ประโยชน์ของการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้นมีอยู่มากมายหลายประการ ได้แก่  การนำธุรกิจสู่การเป็นบริษัทมหาชน จะทำให้กิจการต้องจัดระบบการควบคุมภายใน จัดระบบการจัดการ และมีระบบการรายงานทางการเงินที่น่าเชื่อถือมากขึ้น  กระตุ้นให้บริษัทต้องสร้างศักยภาพ และ ความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เนื่องจากจะได้รับแรงกดดันจากผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ วงเงินกู้ที่ได้รับจากสถาบันการเงินนั้นจะสูงขึ้น รวมถึง ดอกเบี้ยจ่ายจะต่ำลง จากการที่บริษัทมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในฐานะที่เป็นบริษัทมหาชน  กิจการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น เช่น การออกหุ้นกู้ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทมีฐานของทุนที่แข็งแรงขึ้นกว่าในอดีต นอกจากนี้ บริษัทจะได้รู้มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ…

Continue Readingข้อควรพิจารณาของการเป็นบริษัทจดทะเบียน