หลักการจัดเก็บภาษีอากร

หลักการจัดเก็บภาษีอากร โดยกำหนดผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องภาษีอากรหรือจากหลักเกณฑ์ใด โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 3 หลักการดังนี้ 1) หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) 2) หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule) 3) หลักสัญชาติ (Nationality Rule) 1. หลักแหล่งเงินได้           หลักแหล่งเงินได้มาจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้มีเงินได้พึงประเมินมาตรา…

Continue Readingหลักการจัดเก็บภาษีอากร

จริยธรรมของผู้เสียภาษีอากร

จริยธรรม (ethics) มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ “ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม. โดยเป็นการประพฤติที่ดีเพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคม” หากเริ่มต้นจากตัวเราที่มีจริยธรรม ประชาชนรู้หน้าที่ของตนและหน้าที่พลเมือง ประพฤติตัวที่ดีก็จะส่งผลต่อการสร้างความเจริญก้าวหน้าในภาพรวมของประเทศ จริยธรรมของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร คือการเข้าใจถึงหน้าที่พลเรือนโดยการชำระภาษีให้แก่ภาครัฐ เพื่อนำเงินดังกล่าวไปพัฒนาบริหารประเทศที่จะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของสังคม โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีทำการยื่นแบบแสดงรายการการเสียภาษีตามความเป็นจริงอย่างครบถ้วนตามช่วงเวลาของภาษีแต่ละประเภทที่ตนเองอยู่ในข่ายการเสียภาษีประเภทนั้นๆ อย่างไรก็ตามการหนีภาษีหรือการหลีกเลี่ยงภาษี (Tax evasion) เป็นการใช้วิธีการผิดกฎหมายเพื่อทำให้เกิดการเสียภาษีมีจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชำระน้อยลงหรือไม่ต้องจ่ายชำระ (ปรัชญา ปิ่นมณี, 2554) อีกทั้ง เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม (2552) อ้างข้อมูลกรมสรรพากรในกรณีของประเทศไทยมีการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวนมาก…

Continue Readingจริยธรรมของผู้เสียภาษีอากร