ประเภทของต้นทุน (1)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

            การจัดประเภทต้นทุน สามารถทำได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ข้อมูล ต้นทุนจึงสามารถจำแนกได้หลายประเภทดังนี้ ในโพสต์นี้จะอธิบายการจำแนกต้นทุนตามองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ ดังนี้                  1. วัตถุดิบทางตรง (Direct Material: DM) หมายถึง ส่วนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า วัตถุดิบจำนวนที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตนั้นไปปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์ใด (สามารถติดตามได้ง่าย) รวมทั้งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน และสามารถประมาณจำนวนวัตถุดิบได้ค่อนข้างแน่นอนว่าสินค้าที่จะผลิต 1 ชิ้น จะต้องใช้วัตถุดิบจำนวนเท่าไร                  2. ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor: DL) หมายถึง ค่าจ้างหรือเงินเดือนบุคลากรที่ทำงานอยู่ในสายการผลิตโดยตรง…

Continue Readingประเภทของต้นทุน (1)

ความหมายของต้นทุนและการสะสมต้นทุนการผลิต

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ความหมายของต้นทุน             ต้นทุน (Cost) หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่กิจการสูญเสียไป เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ โดยสามารถวัดได้ในรูปของตัวเงิน ทั้งนี้ ต้นทุนอาจให้ประโยชน์ต่อกิจการในปัจจุบันหรืออนาคตก็ได้ หากต้นทุนให้ประโยชน์เฉพาะในงวดปัจจุบัน จะเรียกว่า “ค่าใช้จ่าย” (Expenses) เช่น เงินเดือนสำนักงาน ค่าโฆษณา ค่านายหน้าพนักงานขาย หรือค่าเช่า เป็นต้น แต่ถ้าต้นทุนสามารถให้ประโยชน์ต่อกิจการในอนาคตจะถูกเรียกว่า “สินทรัพย์” (Assets) เช่น ต้นทุนการผลิตที่ใส่เข้าสู่กระบวนการผลิตจนได้เป็นสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) หากสินค้าดังกล่าวยังไม่สามารถขายได้ในงวดปัจจุบันก็จะนับเป็นสินค้าคงเหลือสิ้นงวด ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์นั่นเอง การสะสมต้นทุนการผลิต…

Continue Readingความหมายของต้นทุนและการสะสมต้นทุนการผลิต

คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

นโยบายการบริหารของรัฐบาลหรือแนวทางที่รัฐบาลจะใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น  โดยปกติรัฐบาลจะนำข้อเรียกร้องหรือผลประโยชน์สาธารณะที่ประชาชนต้องการมาจัดทำเป็นนโยบายพรรคการเมืองของตน และเมื่อชนะการเลือกตั้ง ฝ่ายรัฐบาลหรือในนามคณะรัฐมนตรีที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินจะต้องนำนโยบายของรัฐบาลในชุดนั้นๆ แถลงต่อรัฐสภา ดังนั้นการแถลงนโยบายจึงหมายถึงการแจ้งหรือรายงานให้สมาชิกสภาทราบว่ารัฐบาลมีแนวทางหรือทิศทางการบริหารราชการในลักษณะอย่างไร ในทางการเมืองถือว่าการแถลงนโยบายเป็นเหมือนสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชน โดยอาศัยรัฐสภาเป็นประจักษ์พยานซึ่งเมื่อทำการแถลงนโยบายไว้แล้ว รัฐบาลจะมีความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินและได้รับการรับรองตามกฎหมายและนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป สำหรับนโยบายของรัฐบาลไทยในระบอบประชาธิปไตย มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475 ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีคนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในครั้งนั้นรัฐบาลมีแนวนโยบายในชื่อของ “หลัก 6 ประการ” อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีชุดแรกนี้ไม่ได้ทำการแถลงต่อรัฐสภาอย่างเป็นทางการ นโยบายของรัฐบาลชุดแรกตามหลัก 6 ประการ มีสาระสำคัญดังนี้ 1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล…

Continue Readingคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา