มาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายใน

การดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพตรวจภายใน ต้องปฎิบัติตาม “มาตรฐานสากลสำหรับการปฎิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน” (International Standard for the Professional Practice of Internal Auditing หรือที่เรียกว่า IPPF) ซึ่งกำหนดโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายในสากล (The Institute of Internal Auditors: IIA) ถือเป็นแนวทางการปฎิบัติงานและคำแนะนำสำหรับการตรวจสอบภายใน โดยสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทั้งในสภาพแวดล้อม ลักษณะธุรกิจ ขนาด ความซับซ้อนที่แตกต่างกันได้ ซึ่งมาตรฐานสากลสำหรับการปฎิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย 1. พันธกิจ…

Continue Readingมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายใน

R&D

ท่ามกลางการแข่งขันทางการค้าที่เปิดเสรีในปัจจุบันซึ่งต้องแข่งขันทั้งในประเทศ ต่างประเทศ รวมทั้งออนไลน์ จึงไม่สามารถปฎิเสธได้ว่าการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) เพื่อให้ได้มา อาทิ ความรู้ทางการตลาด เทคนิคการผลิต กระบวนการ ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า เป็นต้น ถือเป็นส่วนสำคัญที่กิจการต้องพัฒนาในการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด และเพิ่มผลประกอบการในอนาคต ผลการดำเนินงานของกิจการที่มาจากการวัดผลกระทบจากการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา หนึ่งในด้านผลการดำเนินงานมีที่มาจากตัวเลขที่ปรากฎอยู่ในงบการเงินของกิจการ ซึ่งมาตรฐานการบัญชีได้กล่าวถึงอยู่ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่องสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ระบุการลงทุนของกิจการในการทำการวิจัยและพัฒนาจนกระทั่งได้มาซึ่งรายการบัญชีบัญชีในหมวดสินทรัพย์ ที่เรียกว่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) นั้นคือสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีลักษณะทางกายภาพ…

Continue ReadingR&D

หุ้นกู้สีเขียว

หุ้นกู้สีเขียว (Green Bond)เป็นตราสารหนี้ที่ระดมทุนเพื่อจะนำเงินทุนไปใช้ในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนนักลงทุนก็ได้รับผลตอบแทนในรูปของคูปอง (Coupon) หรือดอกเบี้ยหน้าตั๋ว ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ออกมักกำหนดเป็นอัตราคงที่ตลอดอายุหุ้นกู้ อย่างไรก็ดี ล่าสุด หุ้นกู้สีเขียวมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วที่อ้างอิงกับอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์อื่นในลักษณะเดียวกันกับ หุ้นกู้อนุพันธ์ (Structured Note) จึงกลายมาเป็น “หุ้นกู้สีเขียวอนุพันธ์” (Structured Green Note) เพื่อให้ผลตอบแทนเป็นที่จูงใจนักลงทุนมากยิ่งขึ้น             หุ้นกู้สีเขียวมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม และถือเป็นเครื่องทางการเงินที่สำคัญที่ใช้ในโครงการต่างๆ ที่ลดภาวะโลกร้อน หุ้นกู้สีเขียวฉบับแรกของโลกได้ออกขายในปี ค.ศ.2008 โดยธนาคารโลก (World Bank)…

Continue Readingหุ้นกู้สีเขียว