นโยบาย: การสงเคราะห์หรือสิทธิ

นอกจากประเด็นทางหลักการที่แตกต่างกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือ ผู้ที่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงในทางปฏิบัติ เป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายที่ใช้งบประมาณเพื่อ “ผู้ด้อยโอกาส” จำนวนมากเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ที่ได้เปรียบ ยกตัวอย่างเช่น โครงการจำนำข้าว กับโครงการประกันราคาข้าว ในรัฐบาลนี้ โครงการที่เรียกว่า “ประชารัฐ” ในทางปฏิบัติแล้วกลับพบว่าเป็นการนำเงินไปอุดหนุนผู้ที่ได้เปรียบโดยผ่านมือ “ผู้ด้อยโอกาส”การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ผูกการรับและใช้จ่ายเงินที่เฉพาะเจาะจงการอุดหนุนการผลิตด้วยการให้เงินชดเชยส่วนที่ใช้จ่ายหรือส่วนที่ขาด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทันทีคือ ธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มจะเป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการใช้จ่ายหรือการสนับสนุนดังกล่าวทั้งในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าและบริการ ในรูปแบบของการรักษาการเอารัดเอาเปรียบต่อไปได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบเรียกร้องส่วนแบ่งอันควรได้โดยตรงจากธุรกิจ เงินที่รัฐบาลนำไปแจก ไหลกลับไปสู่กลุ่มทุนที่เชื่อมโยงกับรัฐบาล เงินที่รัฐบาลนำไปอุดหนุนส่วนต่างหรือส่วนที่ขาด ทำให้พ่อค้านักธุรกิจสามารถตั้งราคาสูงกินส่วนต่างแพงโดยไม่ต้องปรับปรุงคุณภาพบริการหรือราคา ทั้งหมดนี้คือการทำให้ผู้ที่ได้เปรียบอยู่แล้วได้รับประโยชน์ เป็นการนำภาษีของประชาชนทุกคนในประเทศไปอุดหนุนธุรกิจหรือกลุ่มคนบางกลุ่มในนามของการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

Continue Readingนโยบาย: การสงเคราะห์หรือสิทธิ

นโยบาย: การสงเคราะห์หรือสิทธิ

นอกจากประเด็นทางหลักการที่แตกต่างกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือ ผู้ที่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงในทางปฏิบัติ เป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายที่ใช้งบประมาณเพื่อ “ผู้ด้อยโอกาส” จำนวนมากเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ที่ได้เปรียบ ยกตัวอย่างเช่น โครงการจำนำข้าว กับโครงการประกันราคาข้าว ในรัฐบาลนี้ โครงการที่เรียกว่า “ประชารัฐ” ในทางปฏิบัติแล้วกลับพบว่าเป็นการนำเงินไปอุดหนุนผู้ที่ได้เปรียบโดยผ่านมือ “ผู้ด้อยโอกาส”การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ผูกการรับและใช้จ่ายเงินที่เฉพาะเจาะจงการอุดหนุนการผลิตด้วยการให้เงินชดเชยส่วนที่ใช้จ่ายหรือส่วนที่ขาด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทันทีคือ ธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มจะเป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการใช้จ่ายหรือการสนับสนุนดังกล่าวทั้งในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าและบริการ ในรูปแบบของการรักษาการเอารัดเอาเปรียบต่อไปได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบเรียกร้องส่วนแบ่งอันควรได้โดยตรงจากธุรกิจ เงินที่รัฐบาลนำไปแจก ไหลกลับไปสู่กลุ่มทุนที่เชื่อมโยงกับรัฐบาล เงินที่รัฐบาลนำไปอุดหนุนส่วนต่างหรือส่วนที่ขาด ทำให้พ่อค้านักธุรกิจสามารถตั้งราคาสูงกินส่วนต่างแพงโดยไม่ต้องปรับปรุงคุณภาพบริการหรือราคา ทั้งหมดนี้คือการทำให้ผู้ที่ได้เปรียบอยู่แล้วได้รับประโยชน์ เป็นการนำภาษีของประชาชนทุกคนในประเทศไปอุดหนุนธุรกิจหรือกลุ่มคนบางกลุ่มในนามของการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

Continue Readingนโยบาย: การสงเคราะห์หรือสิทธิ

มารู้จักการคลังรัฐวิสาหกิจกันสักนิด

การคลังรัฐวิสาหกิจถือเป็นแหล่งที่มาสำคัญของรายได้ของแผ่นดินอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือจากการจัดเก็บภาษีอากรประเภทต่าง ๆ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีลักษณะประกอบกิจการในเชิงธุรกิจ มุ่งแสวงหากำไร หรือเรียกเก็บค่าบริการจากประชาชนผู้รับบริการในฐานะรัฐพาณิชย์  จึงมีบทบาทสำคัญและมีประโยชน์ในด้านการคลังและเสริมรายได้ให้แก่รัฐ รายได้จากการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นกลไกที่สำคัญในการรักษาเสถียรภาพด้านการเงินการคลังของประเทศ โดยรัฐบาลใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการกำกับฐานะดุลการคลังโดยรวมของภาครัฐด้วยการกำกับการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับรายได้ที่สามารถจัดหาได้เพื่อให้มีฐานะดุลงบประมาณที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพด้านการคลังของประเทศ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจเป็นกลไกสำคัญในการช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ข้อมูลทางการเงินปีงบประมาณ 2562 รัฐวิสาหกิจไทยมีจำนวน 56 แห่ง มีสินทรัพย์รวมจำนวน 15,807,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่มีมูลค่า 16,000,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี รัฐวิสาหกิจไทยมีหนี้สินรวมกันสูงถึง 12,604,000 ล้านบาท ทำให้คงเหลือส่วนของทุนสำหรับการดำเนินกิจการในแต่ละปีเพียงประมาณ 3,203,000 ล้านบาท โดยผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 ในภาพรวมรัฐวิสาหกิจไทยสามารถสร้างรายได้รวมจำนวนทั้งสิ้น …

Continue Readingมารู้จักการคลังรัฐวิสาหกิจกันสักนิด