การประเมินสถานการณ์ขนส่งทางทะเล สำหรับปี พ.ศ.2564

หากย้อนไปดูการขนส่งระหว่างประเทศทางตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเล จุดเริ่มต้นก็เกิดจากโควิดทำให้เกิดความไม่สมดุลของการนำเข้า-ส่งออกของหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ผู้ส่งออกส่วนใหญ่คือสินค้าเกษตรได้น้อยลง และยังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากคนงานบางส่วนติดโควิด ทำให้การเคลียร์สินค้าออกจากท่าเรือทำได้ช้ากว่าปกติมากๆ กลายเป็นตู้เรือสินค้าค้างอยู่กลางทะเลเลยไม่สามารถหมุนเวียนตู้กลับมาทางฝั่งเอเชียได้ เช่น ท่าเรือในลอสแองเจลลิส สหรัฐฯ มีเรือสินค้ามากกว่า 30 ลำ และมีตู้สินค้ารออยู่กว่า 300,000 TEU ที่รอคอยโหลดของอยู่ โดยปัญหาก็คือ ตัวเลขสัปดาห์ที่แล้ว คนงานที่ท่าเรือติดโควิดไป 700 กว่าคน จากแรงงานทั้งหมด 9,000 คน ต้องรอกันไป 10-14 วัน แต่หากมองย้อนกลับไปเมื่อ…

Continue Readingการประเมินสถานการณ์ขนส่งทางทะเล สำหรับปี พ.ศ.2564

มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6

โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน–นครราชสีมา กำลังจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ.2564 นั้นจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมาสะดวกขึ้นโดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน–นครราชสีมาซึ่งเป็นเส้นทางมอเตอร์เวย์ลำดับที่ 3 ของประเทศและเส้นทางแรกของภาคอีสาน เส้นทางสายบางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา นี้มีระยะทาง 196 กิโลเมตร ขนาด 4 และ 6 ช่องจราจร มีการควบคุมการเข้าออกตลอดเส้นทาง แนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อบริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอินขนานไปกับเส้นทางใหม่ถนนพหลโยธินและถนนมิตรภาพ มีจุดสิ้นสุดบรรจบกับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ด่านเก็บค่าผ่านทางจะมีทั้งหมด 9 ด่านประกอบด้วย…

Continue Readingมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6

การเปลี่ยนทางม้าลายแยกอโศกจากแยกของรถมาเป็นแยกของประชาชน

สี่แยกอโศกมนตรีเป็นแยกที่มีประชาชนใช้รถใช้ถนนจำนวนมาก ซึ่งเป็นแยกที่มีปัญหาการจราจรมากอีกแยกหนึ่งในกรุงเทพฯ และภาพที่คุ้นตาของประชาชนที่ผ่านแยกอโศกนี้ คือ- รถยนต์ จอดชิดเส้นทางม้าลาย เพราะไม่มีอะไรบอกว่า ต้องเว้นที่ให้รถจักรยานยนต์จอด หรือจอดทับทางม้าลาย เพราะหยุดรถไม่ทันไฟสัญญาณจราจร- รถจักรยานยนต์ จอดทับทางม้าลาย เพราะไม่มีที่จอดระหว่างรอสัญญาณไฟจราจร จอดล้ำหน้าเพื่อจะได้ไปได้เร็ว- คนข้ามถนน มักเดินหลบหรือเดินแทรกรถมอเตอร์ไซค์ที่จอดทับทางม้าลาย หรือเดินทางอื่นที่ไม่ใช่ทางม้าลายแทน ยิ่งผู้พิการหรือคนที่มีกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ ต้องหลบออกนอกทางม้าลาย มีหลายคนแนะนำให้แก้ที่ “จิตสำนึก” เพียงอย่างเดียว แต่เราควรการออกแบบเชิงโครงสร้างสาธารณูปโภค เพื่อ“เปลี่ยนพฤติกรรมคน” โดยทำทางม้าลายให้กว้างขึ้น เป็นสีแดง-ขาว มีคำเตือน “พื้นที่จับปรับ” เพิ่มพื้นที่ให้รถจักรยานยนต์จอดรอไฟแดง เจาะเกาะกลางถนนทำทางม้าลายให้เดินเลี่ยงตอม่อรถไฟฟ้า…

Continue Readingการเปลี่ยนทางม้าลายแยกอโศกจากแยกของรถมาเป็นแยกของประชาชน