อุตสาหกรรมไทย 4.0

การที่จะทำให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ถูกนำไปดำเนินการในภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจัง รัฐบาลจึงมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวผ่านกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นลำดับแรก 4 สาขา ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 2. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และชิ้นส่วน 3. อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และ 4. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ซึ่งอุตสาหกรรมทั้ง 4 สาขาถือเป็นอุตสาหกรรมนำร่องในการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 มาใช้เป็น 4 สาขาแรกของประเทศไทย หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นลำดับแรก 4 สาขาข้างต้น คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย…

Continue Readingอุตสาหกรรมไทย 4.0

ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)

ในปี 2558 ภายใต้การบริหารประเทศของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ริเริ่มนโยบายการปฏิรูปขึ้นในหลายๆ ด้าน นโยบายที่ได้รับความสนใจและถือเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาลนี้คือ นโยบาย “ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)” ซึ่งเป็นโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้วิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ตามแนวคิดเรื่องอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) จากประเทศเยอรมนี ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการผลิตอัจฉริยะ โดยใช้ระบบอัตโนมัติและใช้ระบบไร้สายในการควบคุมการผลิตทั้งหมด ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”…

Continue Readingประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)

การบริหารขององค์การชั้นนำสู่ห่วงโซ่อุปทานสีเขียวเต็มตัว

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ฝุ่น PM 2.5 หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตและผู้จัดจำหน่ายสินค้าในกระบวนการต่างๆ ล้วนแต่เป็นที่มาสำคัญในการสร้างมลภาวะให้กับโลกใบนี้ ส่งผลให้สังคมออกมาเรียกร้องความรับผิดชอบจากทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเหล่านั้นโดยมักนำเรื่องดังกล่าวมาใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ ในขณะเดียวกันคู่ค้าจากหลายประเทศก็ได้เรียกร้องให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเหล่านั้นปฏิบัติตามมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ด้วยเหตุนี้หลายองค์การจึงตระหนักถึงศักยภาพด้านโอกาสและความเสี่ยงจากการจัดการห่วงโซ่อุปทานในตลาดโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากระบบดั้งเดิมเป็นระบบการจัดการสมัยใหม่ที่มีแบบแผนพฤติกรรม บทบาทลูกค้าที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ถูกนํามาใช้ การแลกเปลี่ยนความรู้และข่าวสารกันอย่างรวดเร็วจากสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งจะนําไปสู่ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการดําเนินธุรกิจคือ การลดต้นทุน การเพิ่มมูลค่า การสร้างสรรค์นวัตกรรม และการส่งเสริมการตลาด องค์การจึงได้นําแนวปฏิบัติการพัฒนาอย่างยั่งยืนและอุดมการณ์ในการดําเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมภายใต้หลักบรรษัทภิบาลมาใช้เป็นกลไกและกลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดห่วงโซ่อุปทานเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Supply Chain) คือ การบริหารในมิติที่เกี่ยวกับการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่แหล่งที่มาและกระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ กระบวนการผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง การบริหารคลังสินค้า กระบวนการขนส่งทั้งภายในและภายนอกองค์การ…

Continue Readingการบริหารขององค์การชั้นนำสู่ห่วงโซ่อุปทานสีเขียวเต็มตัว