1. นักท่องเที่ยวผู้พัฒนาตัวเองเชิงสุขภาพ (The Pamperer) มีลักษณะเด่นคือ ต้องการเดินทางมาเพื่อพัฒนาตนเองเชิงสุขภาพเป็นหลัก และมีการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมเสริมในช่วงระหว่างเวลารักษา
2. นักท่องเที่ยวผู้พัฒนาตัวเองทางสายอาชีพ (The Enhancer) มีลักษณะเด่นคือ เกิดความหลงใหลในศิลปะวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตแบบไทย และต้องการการพัฒนาตนเองทางสายอาชีพ (Career Path) จากความชอบนั้น
3. นักท่องเที่ยวผู้พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (The Catalyst) มีลักษณะเด่นคือ มองหาการท่องเที่ยวเชิงลึกในด้านที่ตนเองสนใจเฉพาะ และนำเอาทักษะ ความรู้ ความสามารถของตนเองมาเสนอคนท้องถิ่น และเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาเชิงสังคมหรือสิ่งแวดล้อมร่วมกับคนในพื้นที่
4. นักท่องเที่ยวผู้ชอบสัมผัสสินทรัพย์รูปแบบไทย (The Thai Toucher) มีลักษณะเด่นคือ ให้คุณค่ากับมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมไทยและความหลากหลายทางธรรมชาติในเชิงภาพจำโดดเด่นของไทย และ
เน้นท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสวิถีไทยในแบบลึกซึ้งขึ้นทั้งในเชิงเวลาและความชอบ
5. นักท่องเที่ยวผู้หลีกหนีเมืองไปสู่ประสบการณ์เชิงลึก (The In-depth Escaper) มีลักษณะเด่นคือ
ต้องการหลีกหนีความวุ่นวายจากสังคมเมือง และเนันท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสประสบการณ์ชิงลึกและซึมซับประสบการณ์ในการท่องเที่ยวอย่างอิสระ
6. นักท่องเที่ยวผู้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจ (The Outing Joiner) มีลักษณะเด่นคือ
เดินทางท่องเที่ยวเพื่อร่วมกิจกรรมทางธุรกิจในลักษณะการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าหรือคู่ค้าทางธุรกิจ และมีการวางแผนการท่องเที่ยวโดยองค์กรหรือหน่วยงานผู้มอบสิทธิ์
7. นักท่องเที่ยวผู้ใช้เวลากับตัวเอง (The Time Spender) มีลักษณะเด่นคือ เลือกมาใช้ชีวิตชั่วคราวในประเทศไทยด้วยปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต และสัมผัสกับทรัพย์สินท้องถิ่นความเป็นไทยน้อย และท่องเที่ยวใช้เวลาได้ตามต้องการในหลากหลายพื้นที่ ขณะเดียวกันก็สามารถทำงานในระยะไกลได้อย่างสะดวกสบาย
8. นักท่องเที่ยวผู้ชอบสานสัมพันธ์ (The Relationship Builder) มีลักษณะเด่นคือ คนหลากหลายวัย กลุ่มเพื่อน กลุ่มความสนใจเดียวกันเดินทางท่องเที่ยวร่วมกัน และเน้นการใช้เวลาเชิงคุณภาพร่วมกับผู้ร่วมเดินทาง
9. นักท่องเที่ยวชอบปักหมุดสถานที่ (The Optimizer) มีลักษณะเด่นคือ เน้นความคุ้มค่าเชิงปริมาณในการท่องเที่ยว โดยเน้นการชมภาพลักษณ์และการไปถึง และมีการวางแผนอย่างชัดเจน
10. นักท่องเที่ยวผู้มีกิจกรรมเคลื่อนตัวตลอดเวลา (The Motion-based Wanderer) มีลักษณะเด่นคือ ให้คุณค่ากับประสบการณ์ที่หลากหลายระหว่างทาง และให้การเดินทางเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว
11. นักท่องเที่ยวผู้ท่องเที่ยวเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ (The Volunteer Traveler) มีลักษณะเด่นคือ
ท่องเที่ยวเพื่อร่วมทำประโยชน์ทั้งการพัฒนาพื้นที่ชุมชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการให้ความรู้ รวมทั้งใช้เวลาท่องเที่ยวระยะยาวและอยู่อาศัยร่วมกับชุมชน
12. นักท่องเที่ยวผู้ท่องเที่ยวในเส้นทางที่ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวหลัก (The Tourism Veteran) มีลักษณะเด่นคือ สอดแทรกการท่องเที่ยวเข้าไปในเส้นทางการใช้ชีวิตประจำวัน และการท่องเที่ยวเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
ที่มา การศึกษาของคมกริช ธนะแพทย์ พ.ศ. 2565 อ้างในอภิวัฒน์ รัตนวราหะ และอรรถพันธ์ สารวงศ์. (2565). ฉากทัศน์อนาคตและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: หจก.ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค.