บทเรียนความสำเร็จของการจัดตั้งศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

สภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข จากความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลา อันเนื่องมาจากการระบายมลพิษลงสู่ทะเล การใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย การใช้เครื่องดักจับที่มีความทันสมัยมากขึ้น ประกอบกับการจับปลาเพื่อประกอบธุรกิจเพื่อการค้า เกิดการแข่งขันในการแสวงหาทรัพยากรที่สามารถก่อให้เกิดรายได้โดยขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถขยายพันธุ์เองในธรรมชาติได้เพียงพอ อบต.เกาะหมาก จึงได้ก่อตั้ง “ศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ” ขึ้น โดยเริ่มเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกรามเป็นชนิดแรก เนื่องจากทะเลช่วงดังกล่าวมีการหมุนเวียนของน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ทำให้กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งสามน้ำมีรสชาติอร่อย เนื้อกุ้งแน่น และมีความหวานอร่อย ส่วนหัวจะมีความมันเป็นพิเศษ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โดยในปี ๒๕๖๕ สามารถผลิตลูกกุ้งได้ประมาณ ๒๐ ล้านตัว เพื่อปล่อยลงสู่ทะเลสาบสงขลา โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน…

Continue Readingบทเรียนความสำเร็จของการจัดตั้งศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

บทเรียนความสำเร็จในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารตำบลยางขี้นก อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

สภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาวะตกต่ำทางด้านเศรษฐกิจ และความเจริญของเทคโนโลยีที่เข้าถึงทุกพื้นที่อย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำรงชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีอันดีงามที่มายาวนานเกิดความเปลี่ยนแปลง ลบเลือน และเริ่มจางหาย ถูกกลืนและแทนที่ด้วยวิถีชีวิตที่มีเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่และมีแนวโน้มจะกลายเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตในที่สุด เกิดภาวะของความดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยี จนลืมความงดงาม และความสัมพันธ์กันอย่างอบอุ่นผ่านวิถีชีวิตของการใช้ภูมิปัญญาควบคู่วัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ เป็นการปลูกฝังคนรุ่นต่อรุ่น ให้มีแนวคิดในการไปประกอบอาชีพที่อื่น เนื่องจากเข้าใจว่าภูมิลำเนาของตนไม่สามารถสร้างอาชีพอย่างอื่นได้นอกจากการทำนา จนฝากบุตรหลานไว้กับผู้สูงอายุเพื่อไปประกอบอาชีพที่อื่น อันเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ส่งผลต่อปัญหาการขาดความอบอุ่นในครอบครัว และส่งผลต่อเนื่องต่อปัญหาสังคมในระยะยาว ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นวงจรในการดำรงชีวิตของชาวตำบลยางขี้นกได้ วัตถุประสงค์ 1) เพื่ออนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในท้องถิ่น การดำเนินโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก ได้นำภูมิปัญญา และวัฒนธรรมที่ดี ของท้องถิ่น…

Continue Readingบทเรียนความสำเร็จในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารตำบลยางขี้นก อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

บทเรียนความสำเร็จของโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบเทศบาลตำบลแสนสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

สภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข ปัจจุบันตำบลแสนสุขมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไปมีจำนวน ๓,๘๖๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๗๔ ของจำนวนประชากรทั้งหมด (จำนวนประชากร ณ เดือน กันยายน ๒๕๖๕ : ๒๔,๕๗๔ คน ) ถือได้ว่าตำบลแสนสุข เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ปัญหาที่ตามมาจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้สัดส่วนของคนชราต่ออัตราของประชากรเพิ่มมากขึ้นทุกปี การที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น บางครั้งอาจทำให้ผู้สูงอายุขาดความอบอุ่นหรืออาจถูกทอดทิ้งได้ เมื่อถึงวัยเกษียณอายุไม่ได้ทำงานทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหงา  ไม่เกิดความภาคภูมิใจเหมือนเป็นภาระกับลูกหลาน อาจรู้สึกน้อยใจ ซึมเศร้า รวมถึงปัญหาสุขภาพร่างกาย…

Continue Readingบทเรียนความสำเร็จของโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบเทศบาลตำบลแสนสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี