การบริหารการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านเศรษฐกิจ (Smart Economy) ของเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา

บริบทของพื้นที่กรณีศึกษาเมืองยะลา           เมืองยะลา หมายถึงเขตพื้นที่บริการของเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศใต้ประมาณ 1,395 กิโลเมตร มีพื้นที่บริการประมาณ 19.4 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสายบุรีและที่ราบระหว่างภูเขา ภายในเขตเทศบาลได้มีการวางระบบผังเมืองอย่างดีซึ่งเทศบาลนครยะลาได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการวางผังเมืองที่ดีและสวยงามแห่งหนึ่งของประเทศไทย ภายในเทศบาลมีถนนกว่า 400 สายตัดเชื่อมต่อกัน ในลักษณะเป็นใยแมงมุมมีวงเวียนซ้อนกัน 3 วงคล้ายกับผังเมืองของกรุงปรารีส ประเทศฝรั่งเศส ถนนทุกสายไปรวมกันที่วงเวียนหลักเมืองแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ภายในเมืองเป็นบริเวณต่าง ๆ ชัดเจน เช่น สถานศึกษา สถานที่ราชการ ย่านธุรกิจการค้า บ้านพักอาศัย…

Continue Readingการบริหารการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านเศรษฐกิจ (Smart Economy) ของเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา

โครงการติดตั้งระบบท่อจัดเก็บและกระจายการใช้น้ำจากธนาคารน้ำใต้ดินขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

สภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขามประสบปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ซ้ำซากเป็นประจำทุกปีเนื่องจากเป็น พื้นที่รับน้ำอยู่นอกเขตชลประทาน หลังจากปี 2558 ได้นำโครงการนวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินมาแก้ปัญหาการ บริหารจัดการน้ำจนประสบผลสำเร็จและกลายเป็นการบริหารจัดการระบบธนาคารน้ำใต้ดินต้นแบบประเทศไทย แต่ในบางพื้นที่ในเขต อบต. เก่าขาม ที่ระบบน้ำประปาหมู่บ้านและระบบคลองน้ำเข้าไม่ถึงทำให้ยังเกิดปัญหาการนำน้ำจากระบบธนาคารน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์ จึงมีปัญหาน้ำอุปโภค – บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรนอกฤดูกาล และน้ำที่จะนำมาจ่ายแจกเพื่อบรรเทาปัญหาสาธารณภัยและปัญหาภัยแล้ง จึงเกิดโครงการนวัตกรรมสนับสนุนธนาคารน้ำ (ธนาคารน้ำเพื่อชีวิต) เพื่อแก้ไขปัญหาระบบการบริหารจัดการน้ำรูปแบบเดิม ให้มีการบริหารจัดการน้ำได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่ เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ ความห่างไกลของชุมชน กลุ่มเล็กๆ รวมถึงความต่อเนื่องของระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่เดิมและด้านพลังงานหลัก (ไฟฟ้า) ด้วยระบบสูบน้ำใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลักทำให้ระบบกระจายน้ำ ของโครงการนวัตกรรมสนับสนุนธนาคารน้ำ(ธนาคารน้ำเพื่อชีวิต (Life…

Continue Readingโครงการติดตั้งระบบท่อจัดเก็บและกระจายการใช้น้ำจากธนาคารน้ำใต้ดินขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

โครงการน้ำประปาดื่มได้เพื่อประชาชนของเทศบาลตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

สภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข โรงผลิตน้ำประปาของเทศบาลตำบลอาจสามารถได้รับเงินสนับสนุนในการก่อสร้างเมื่อประมาณ 30 ปีก่อนแต่ที่ผ่านมาเทศบาลไม่ได้มีการบำรุงรักษาและดูแลระบบน้ำประปาอย่างเพียงพอ ทั้งกระบวนการตั้งแต่การผลิต การจัดส่ง การควบคุมคุณภาพ การเก็บเงินและการวิเคราะห์รายงานผล ทำให้ที่ผ่านมาประชาชนจำนวน 4,087 คน ที่ใช้น้ำของเทศบาลตำบลอาจสามารถได้รับผลกระทบโดยเฉพาะเรื่องคุณภาพน้ำประปา น้ำประปามีสีแดง ขุ่น ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้  วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อพัฒนาระบบ กระบวนการผลิต น้ำประปา โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ๒. เพื่อให้มีน้ำประปาดื่มได้สำหรับบริการ ประชาชนทุกครัวเรือนในเขตเทศบาล ๓. เพื่อลดค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือน ๔. เพื่อลดค่าใช้จ่ายต้นทุนได้ในผลิตน้ำประปา  การดำเนินโครงการ เทศบาลตำบลอาสามารถได้ดำเนินโครงการน้ำประปาดื่มได้เพื่อประชาชน…

Continue Readingโครงการน้ำประปาดื่มได้เพื่อประชาชนของเทศบาลตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด