ผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง

            โดยทั่วไปการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงจากการลงทุนเสมอ และความเสี่ยงจากการลงทุนมีหลายรูปแบบ เช่น ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับคืนเงินที่ลงทุน ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ความเสี่ยงตลาด ความเสี่ยงสภาพคล่อง เป็นต้น             อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนไม่ชอบและต้องการหลีกเลี่ยงมากที่สุดคือความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ หรือความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับคืนเงินที่ลงทุน หรือกล่าวอีกนัยคือความเสี่ยงที่จะสูญเสียดอกเบี้ยและเงินต้นที่นำมาลงทุนนั่นเอง ซึ่งจะเรียกความเสี่ยงประเภทนี้ว่า Default risk             ในทฤษฎีการลงทุนระบุว่าการลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาล เช่น พันธบัตรรัฐบาล เป็นการลงทุนที่ไม่มีความความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่มี นั่นเอง แต่ยังคงมีความเสี่ยงประเภทอื่นๆ เช่น ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ความเสี่ยงตลาด ความเสี่ยงสภาพคล่อง เป็นต้น

Continue Readingผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง

ผลตอบแทนกับความเสี่ยง

การลงทุนใดๆ ย่อมมีความเสี่ยงในการลงทุนเสมอ เรามักจะได้ยินเสมอว่า การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจะให้ผลตอบแทนสูง หรือ High risk high return ทั้งนี้ เพราะโดยธรรมชาติของผู้ลงทุนจะไม่ชอบความเสี่ยง ดังนั้นหากการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนอื่นโดยที่คุณสมบัติอื่นเหมือนกันทุกประการแล้วการลงทุนนั้นย่อมไม่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน ดังนั้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนอื่นจึงต้องเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนอื่นเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนสนใจมาลงทุน ผลตอบแทนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนั้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้นนั้นเอง เรียกว่า “ส่วนชดเชยความเสี่ยง” หรือ “Risk premium” ดังนั้นยิ่งการลงทุนมีความเสี่ยงมากเท่าไร ย่อมต้องมีส่วนชดเชยความเสี่ยงมากขึ้น ทำให้การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงยิ่งต้องให้ผลตอบแทนสูงนั่นเอง

Continue Readingผลตอบแทนกับความเสี่ยง

โครงสร้างตลาดการเงินไทย พ.ศ.2566

เดิมเมื่อกล่าวถึงการออมการลงทุนของภาคครัวเรือนส่วนมากจะนึกถึงธนาคารพาณิชย์ เช่นเดียวกับภาคธุรกิจเมื่อต้องการเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการก็จะนึกถึงเงินกู้ประเภทต่างๆจากธนาคารพาณิชย์ แต่ในปัจจุบันสัดส่วนของเงินทุนในภาคธนาคารลดลงเหลือเพียงประมาณหนึ่งในสามเท่านั้น โดยในปี พ.ศ.2566 มีสินเชื่อจากธนาคารทั้งหมดรวมประมาณ 18.3 ล้านล้านบาท ในขณะที่มูลค่ารวมของตลาดตราสารทุนอยู่ที่ประมาณ 17.0 ล้านล้านบาท และตลาดตราสารหนี้มีมูลค่าคงค้างประมาณ 16.5 ล้านล้านบาท จะเห็นได้ว่าระบบธนาคารยังคงมีบทบาทมากที่สุดในโครงสร้างตลาดการเงินไทย แต่เริ่มที่จะมีขนาดใกล้เคียงกับตลาดตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ และแนวโน้มในอนาคตธนาคารจะมีบทบาทลดลง ในขณะที่ตลาดตราสารทุน และตลาดตราสารหนี้ยังมีแนวโน้มจะเติบโตได้อีก เอกสารอ้างอิง สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย. (2567). ตลาดตราสารหนี้ไทย ปี 2023. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2567 จาก:…

Continue Readingโครงสร้างตลาดการเงินไทย พ.ศ.2566