มุมมองในการพิจารณาสิ่งเดียวกัน มีความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับรากฐานความเชื่อที่มีอยู่ของแต่ละบุคคลเช่นเดียวกับงานวิจัยที่มีหัวข้อที่สนใจเรื่องเดียวกัน แต่มีกระบวนการทำวิจัยและการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองหรือกระบวนทัศน์ของผู้วิจัย เรียกว่า research paradigm โดยเมื่อพิจารณามุมมองสามารถแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ 1) Objectivism มองว่าสิ่งที่สนใจเป็นความจริง ความรู้ ที่มีอยู่ ซึ่งไม่ว่าผู้ใดมองก็จะเห็นความจริงนั้นที่เหมือนกัน อาทิ ตัวเลขทางการเงิน เป็นต้น โดยไม่มีการตีความ ผู้วิจัยทำหน้าที่ศึกษาและรายงานตามสิ่งที่เป็น ดังนั้นตัวอย่างงานวิจัยในกลุ่มนี้จึงเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative) คำถามในงานวิจัย อาทิ อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ส่งผลต่อโอกาสในการเกิดการล้มละลายของกิจการหรือไม่ โดยการศึกษาจะนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาเป็นฐานและทำการเก็บข้อมูลเพื่อพิสูจน์คำถามการวิจัยดังกล่าว
ในขณะที่ 2) Constructivism มองว่าความจริงเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นมา เมื่อมีคำถามงานวิจัยเกิดขึ้นจะทำการศึกษาสิ่งที่สนใจ โดยการสังเกต สัมภาษณ์ ตีความ พิจารณาปัจจัยแวดล้อม แปรความ เมื่อสรุปเนื้อหาแล้วทำการสื่อสารว่าเหตุการณ์ที่ศึกษา เกิดเป็นแนวคิดหรือเกิดทฤษฎีใหม่ที่ใช้อธิบายสิ่งที่ทำการศึกษา หากเกิดเหตุการณ์ (สาเหตุ) นี้ จะทำให้เกิดผลแบบใด ถือเป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Quantitative) ตัวอย่างการวิจัย อาทิ การศึกษาพฤติกรรมของสิ่งที่สนใจ
เมื่อมุมมองต่างกันทำให้กำหนดรูปแบบการวิจัยแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพก็มีจุดเด่นในตัวเอง ไม่สามารถกล่าวว่าวิธีใดดีกว่า การเลือกใช้พิจารณาตามความเหมาะสมของงานและมุมมองของนักวิจัย
อย่างไรก็ตาม วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพต่างมีจุดเด่นและด้อยที่แตกต่างกัน จึงได้มีการประยุกต์รวมกับทั้งสองรูปแบบมาใช้ในการหาคำตอบการวิจัย เรียกว่า Mixed method เนื่องด้วยจากคำถามงานวิจัยควรมองในหลายมุมมอง เพื่อให้ได้ข้อมูลคำตอบที่สมบูรณ์ที่สุด อาทิ การวิจัยเชิงปริมาณบางประเภทที่จัดทำการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) คำตอบที่ได้จากผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเชิงความรู้สึกในระดับตัวเลขที่กำหนด อาทิ เห็นด้วยหรือพึงพอใจมากแทนค่าด้วย 5 เห็นด้วยหรือพึงพอใจน้อยแทนค่าด้วย 1 เป็นต้น ดังนั้นการที่นำข้อมูลตัวเลขมาประมวลผลทางสถิติ อาจเกิดเหตุการณ์ไม่พบความสัมพันธ์ในระดับนัยสำคัญของความเชื่อมั่นที่กำหนดในบางตัวแปร ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณอาจสรุปตัวแปรดังกล่าวด้วยการอ้างอิงข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมมาบรรยายถึงความคล้ายคลึงและเป็นเหตุผลของค่าสถิตินั้น แต่อย่างไรก็ตามบริบทเรื่องของข้อมูล เวลา สถานที่ มีความแตกต่างกัน จึงไม่ได้ทราบถึงเหตุผลที่แท้จริง ดังนั้นการเสริมด้วยการใช้กระบวนการเชิงคุณภาพเพื่อหาเหตุผลในบริบทงานวิจัย จึงถือเป็นวิธีที่ให้คำตอบได้ชัดเจนและตรงประเด็นที่สุดด้วยวิธีของ Mixed method
กระบวนการในการทำ Mixed method มีการเรียงลำดับรูปแบบการทำวิจัย 4 ประเภทคือ 1) triangulation design เป็รการทำวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแยกกันในช่วงเวลาเดียวกัน อีกทั้งให้ความสำคัญเท่ากัน โดยนำผลมาเปรียบเทียบในความเหมือนและความต่าง เพื่อสรุปการตอบคำถามงานวิจัย 2) embedded design คือการทำวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยกำหนดว่ารูปแบบใดใช้เป็นความสำคัญหลักและรอง เพื่อทำการศึกษาในปัญหาการวิจัยเดียวกันแต่ต่างประเด็น แล้วนำมาสรุปการตอบคำถามงานวิจัย 3) exploratory sequential design เหมาะสำหรับงานวิจัยที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน จึงเริ่มจากการทำวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหากรอบความคิด แล้วจึงทำวิจัยเชิงปริมาณเพื่อยืนยันกับคนจำนวนมากหรือเพื่อหาผลลัพธ์เป็นระดับเชิงตัวเลข ในการตอบคำถามการวิจัย 4) explanatory sequential design เป็นการวิจัยที่มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แล้วพิสูจน์ทฤษฎีโดยการทำวิจัยเชิงปริมาณ แต่อาจได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติบางส่วนไม่สมบูรณ์จึงต้องมีการจัดทำวิจัยเชิงคุณภาพ หรือต้องการเสริมการยืนยันถึงผลสถิติที่ได้รับเพื่อเป็นการอธิบายคำตอบของงานวิจัยให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ในขณะที่ 2) Constructivism มองว่าความจริงเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นมา เมื่อมีคำถามงานวิจัยเกิดขึ้นจะทำการศึกษาสิ่งที่สนใจ โดยการสังเกต สัมภาษณ์ ตีความ พิจารณาปัจจัยแวดล้อม แปรความ เมื่อสรุปเนื้อหาแล้วทำการสื่อสารว่าเหตุการณ์ที่ศึกษา เกิดเป็นแนวคิดหรือเกิดทฤษฎีใหม่ที่ใช้อธิบายสิ่งที่ทำการศึกษา หากเกิดเหตุการณ์ (สาเหตุ) นี้ จะทำให้เกิดผลแบบใด ถือเป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Quantitative) ตัวอย่างการวิจัย อาทิ การศึกษาพฤติกรรมของสิ่งที่สนใจ
เมื่อมุมมองต่างกันทำให้กำหนดรูปแบบการวิจัยแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพก็มีจุดเด่นในตัวเอง ไม่สามารถกล่าวว่าวิธีใดดีกว่า การเลือกใช้พิจารณาตามความเหมาะสมของงานและมุมมองของนักวิจัย
อย่างไรก็ตาม วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพต่างมีจุดเด่นและด้อยที่แตกต่างกัน จึงได้มีการประยุกต์รวมกับทั้งสองรูปแบบมาใช้ในการหาคำตอบการวิจัย เรียกว่า Mixed method เนื่องด้วยจากคำถามงานวิจัยควรมองในหลายมุมมอง เพื่อให้ได้ข้อมูลคำตอบที่สมบูรณ์ที่สุด อาทิ การวิจัยเชิงปริมาณบางประเภทที่จัดทำการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) คำตอบที่ได้จากผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเชิงความรู้สึกในระดับตัวเลขที่กำหนด อาทิ เห็นด้วยหรือพึงพอใจมากแทนค่าด้วย 5 เห็นด้วยหรือพึงพอใจน้อยแทนค่าด้วย 1 เป็นต้น ดังนั้นการที่นำข้อมูลตัวเลขมาประมวลผลทางสถิติ อาจเกิดเหตุการณ์ไม่พบความสัมพันธ์ในระดับนัยสำคัญของความเชื่อมั่นที่กำหนดในบางตัวแปร ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณอาจสรุปตัวแปรดังกล่าวด้วยการอ้างอิงข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมมาบรรยายถึงความคล้ายคลึงและเป็นเหตุผลของค่าสถิตินั้น แต่อย่างไรก็ตามบริบทเรื่องของข้อมูล เวลา สถานที่ มีความแตกต่างกัน จึงไม่ได้ทราบถึงเหตุผลที่แท้จริง ดังนั้นการเสริมด้วยการใช้กระบวนการเชิงคุณภาพเพื่อหาเหตุผลในบริบทงานวิจัย จึงถือเป็นวิธีที่ให้คำตอบได้ชัดเจนและตรงประเด็นที่สุดด้วยวิธีของ Mixed method
กระบวนการในการทำ Mixed method มีการเรียงลำดับรูปแบบการทำวิจัย 4 ประเภทคือ 1) triangulation design เป็รการทำวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแยกกันในช่วงเวลาเดียวกัน อีกทั้งให้ความสำคัญเท่ากัน โดยนำผลมาเปรียบเทียบในความเหมือนและความต่าง เพื่อสรุปการตอบคำถามงานวิจัย 2) embedded design คือการทำวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยกำหนดว่ารูปแบบใดใช้เป็นความสำคัญหลักและรอง เพื่อทำการศึกษาในปัญหาการวิจัยเดียวกันแต่ต่างประเด็น แล้วนำมาสรุปการตอบคำถามงานวิจัย 3) exploratory sequential design เหมาะสำหรับงานวิจัยที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน จึงเริ่มจากการทำวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหากรอบความคิด แล้วจึงทำวิจัยเชิงปริมาณเพื่อยืนยันกับคนจำนวนมากหรือเพื่อหาผลลัพธ์เป็นระดับเชิงตัวเลข ในการตอบคำถามการวิจัย 4) explanatory sequential design เป็นการวิจัยที่มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แล้วพิสูจน์ทฤษฎีโดยการทำวิจัยเชิงปริมาณ แต่อาจได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติบางส่วนไม่สมบูรณ์จึงต้องมีการจัดทำวิจัยเชิงคุณภาพ หรือต้องการเสริมการยืนยันถึงผลสถิติที่ได้รับเพื่อเป็นการอธิบายคำตอบของงานวิจัยให้มีความสมบูรณ์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Post Views: 1,017