คุณภาพกำไร (1): ความสำคัญของกำไร

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

Blog ความรู้เรื่องคุณภาพกำไรที่จะได้นำมาอธิบายใน Series นี้ ข้อมูลส่วนสำคัญมาจากการที่ผู้เขียนขอรับทุนพัฒนาบุคลากรเพื่อการศึกษาทางไกล ระดับหน่วยงาน ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรที่ผู้เขียนเข้ารับการอบรมคือ “การวิเคราะห์คุณภาพกำไร เพื่อวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานและวางแผนกลยุทธ์เพื่อนำเสนอผู้บริหาร  Earnings Quality Measurement” ซึ่งจัดโดยบริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด โดยวิทยากรคือ ดร.ธีรเศรษฐ์  เมธจิรนนท์ การเขียน Blog ความรู้นี้ ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อแสวงหากำไรแต่ประการใด เป็นเพียงการเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับมาจากการเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ ภายใต้การสนับสนุนของมหาวิทยาลัยฯ การดำเนินงานทางธุรกิจ “กำไร” ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ลงทุนใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของกิจการ ไม่เพียงแต่จะเป็นสิ่งที่นักลงทุนคาดหวัง…

Continue Readingคุณภาพกำไร (1): ความสำคัญของกำไร

ปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย

ปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย ในภาพรวมโครงสร้างรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยมีการพึ่งพิงรัฐบาลกลางในการจัดเก็บและการจัดสรรเงินในระดับที่สูง แม้จะมีประเภทภาษีชนิดต่างๆแต่ก็ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพียงพอ จากการวิเคราะห์พบลักษณะที่ก่อให้เกิดปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย ดังนี้ 1. ข้อจำกัดในการดำเนินงานและอำนาจทางภาษีอากร ที่ผ่านมานโยบายการกระจายอำนาจทางการคลังจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ปีพ.ศ.2542 มีความชัดเจน แต่ในส่วนของการนำไปปฏิบัติยังคงอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เช่นเดียวกับ การดำเนินการภายหลังจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 ที่การบริหารราชการและการใช้กลไกของรัฐในทางปฏิบัติในการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่ท้องถิ่นยังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนโยบายการกระจายอำนาจในอดีต กล่าวคือมีการดำเนินการและระบบการจัดการที่ส่วนกลางและให้อำนาจกับกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการการกระจายอำนาจเป็นหลัก โดยมีหน่วยงานที่ทำการตัดสินใจหลัก 4 หน่วยงานได้แก่ 1) สำนักงบประมาณ 2) กระทรวงการคลัง 3) สศช.…

Continue Readingปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย

แนวทางการพัฒนาและการบริหารเงินอุดหนุน

แนวทางการพัฒนาและการบริหารเงินอุดหนุนควรยึดหลักความเป็นธรรม ความสอดคลองกับรายได้และสัดส่วนเงินอุดหนุนควรอยู่ในระดับต่ำ สำหรับการจัดสรรเงินอุดหนุนควรยึดหลักความเป็นธรรม โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพและฐานะทางเศรษฐกิจเท่ากันควรได้รับเงินอุดหนุนเท่ากัน นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย ควรได้รับเงินอุดหนุนมากขึ้น เพื่อเป็นการปรับระดับรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้นการบริหารเงินอุดหนุนควรสอดคล้องกับภาพรวมรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสัดส่วนของเงินอุดหนุนต่อรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะอยู่ในระดับต่ำ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ท้องถิ่นพึ่งพารายได้ของท้องถิ่นเอง นอกจากนี้การจัดสรรเงินอุดหนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละประเภท ควรมีการระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน นอกจากนี้ การบริหารเงินอุดหนุนทั่วไปควรจะมีสูตรในการคำนวณที่ไม่ซับซ้อนและควรบริหารเงินอุดหนุนด้วยความโปร่งใส การบริหารเงินอุดหนุนทั่วไปควรจะมีสูตรในการคำนวณที่ไม่ซับซ้อน (ที่ผ่านมาสูตรในการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปค่อนข้างที่จะซับซ้อนและยุ่งยาก)     ดังนั้นจึงควรมีการจัดสรรด้วยความชัดเจน โดยสูตรในการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป ควรคำนึงถึงด้านรายได้และรายจ่ายตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะเป็นการสะท้อนถึงช่องว่างทางการคลังได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องมีการประเมินและปรับปรุงสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ นอกจากนั้นข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณควรจะมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และไม่ล่าช้า   นอกจากนี้ควรเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะเพื่อให้ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ สามารถทำการตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย   โดยเฉพาะการจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจให้กับท้องถิ่น ควรมีระบบการจัดการที่โปร่งใส และมีมาตรฐาน การแก้ไขปัญหาเงินอุดหนุนเฉพาะกิจในระยะยาว…

Continue Readingแนวทางการพัฒนาและการบริหารเงินอุดหนุน