ต้นทุนเงินทุน (2)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ต้นทุนเงินทุนของหนี้สิน ในการจัดหาเงินทุนจากหนี้สิน อาจเป็นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือการออกตราสารหนี้ เงินทุนที่มาจากการก่อหนี้มีต้นทุนคือ ดอกเบี้ยจ่าย (Interest Expense) ซึ่งถือเป็นภาระผูกพันทางการเงินที่กิจการผู้จัดหาเงินทุนต้องจ่ายไม่ว่ากิจการจะมีผลกำไรหรือขาดทุน และต้องจ่ายภาระผูกพันนี้ตลอดอายุของหนี้ อย่างไรก็ตาม การที่กิจการระดมเงินทุนจากหนี้สินจะสามารถนำดอกเบี้ยจ่ายไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนทางภาษีอากรได้ ส่งผลให้เสียภาษีน้อยลง ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ทางภาษีจากการมีดอกเบี้ยจ่าย หรือที่เรียกว่า “Tax Shield” ดังนั้น ต้นทุนเงินทุนของหนี้สินจะต้องพิจารณาหลังจากผลกระทบของภาษีแล้ว กล่าวคือ ต้นทุนเงินทุนของหนี้สินจะต่ำลงด้วยผลประโยชน์ทางภาษีที่ยกตัวอย่างข้างต้น สามารถคำนวณต้นทุนเงินทุนหนี้สินหลังหักภาษีได้จากสูตร                                                 kdt        =          kd(1-t)                                     เมื่อ      …

Continue Readingต้นทุนเงินทุน (2)

ต้นทุนเงินทุน (1)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ความหมายของต้นทุนเงินทุน             หากจะพิจารณาความหมายของต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) ของกิจการหนึ่งๆ สามารถพิจารณาได้จาก 2 มุมมอง คือ มุมมองของผู้ต้องการเงินทุน (หรือกิจการ) และเมุมมองของเจ้าของเงินทุน โดยที่หากพิจารณาในมุมมองของผู้ต้องการเงินทุน ต้นทุนเงินทุนจะหมายถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทุนแหล่งนั้นๆ แต่ถ้าพิจารณาในมุมมองของเจ้าของเงินทุน ต้นทุนเงินทุนจะหมายถึง ผลตอบแทนขั้นต่ำที่เจ้าของเงินทุนคาดหวังหากตัดสินใจนำเงินมาลงทุน ความสำคัญของต้นทุนเงินทุน1. ความสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนในโครงการ โดยที่การจัดหาเงินทุนของกิจการนั้นมีเหตุผลประการสำคัญคือ การนำเงินทุนที่จัดหามานั้นไปลงทุนโดยเฉพาะการลงทุนในโครงการต่างๆ เช่น การลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ การสร้างโรงงานใหม่ เป็นต้น หรือเรียกว่า งบประมาณลงทุน…

Continue Readingต้นทุนเงินทุน (1)

สาระสำคัญของของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

สาระสำคัญในบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่กำหนดขึ้น ได้แก่ 1) ปรับปรุงระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม 2) ให้มีกระบวนการสรรหาบุคคลในระบบเปิด เพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งในบางกรณี 3) กระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากขึ้น 4) ปรับปรุงระบบวินัย อุทธรณ์ และร้องทุกข์ ให้มีความเข้มแข็ง และ 5) มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งอธิบายแต่ละส่วนได้ดังนี้ (ธนวัฒน์ โลหะเวช, 2557: น. 11 – 15)…

Continue Readingสาระสำคัญของของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551