Key Question Issue of Strategic Planning

Key Question Issue of Strategic Planning: ประเด็นคำถามหลักในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ในการวางยุทธศาสตร์นั้น จะต้องมีการกำหนดคำแถลงภารกิจขององค์การ ซึ่งคือ การให้คำนิยาม หรือการอธิบายถึงขอบข่ายการดำเนินงานหรือลักษณะของการดำเนินงานขององค์การ เช่น องค์การของเราจะให้บริการอะไร  มีใครเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะมารับบริการจากเรา  จุดมุ่งหมายของการดำเนินงานและภาพลักษณ์ที่ต้องการจะเป็นคืออะไร  รวมไปถึงปรัชญาการบริหารงานหรือค่านิยมขององค์การที่ยึดมั่น (Core Value) และเมื่อกำหนดภารกิจไว้ชัดเจนแล้ว ควรมีการตั้งคำถามหลักในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ และกำหนดสิ่งที่ต้องดำเนินการต่างๆ ดังนี้ 1. เราจะไปในทิศทางไหน (Where are you going?) สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ…

Continue ReadingKey Question Issue of Strategic Planning

นโยบาย: การสงเคราะห์หรือสิทธิ

นอกจากประเด็นทางหลักการที่แตกต่างกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือ ผู้ที่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงในทางปฏิบัติ เป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายที่ใช้งบประมาณเพื่อ “ผู้ด้อยโอกาส” จำนวนมากเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ที่ได้เปรียบ ยกตัวอย่างเช่น โครงการจำนำข้าว กับโครงการประกันราคาข้าว ในรัฐบาลนี้ โครงการที่เรียกว่า “ประชารัฐ” ในทางปฏิบัติแล้วกลับพบว่าเป็นการนำเงินไปอุดหนุนผู้ที่ได้เปรียบโดยผ่านมือ “ผู้ด้อยโอกาส”การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ผูกการรับและใช้จ่ายเงินที่เฉพาะเจาะจงการอุดหนุนการผลิตด้วยการให้เงินชดเชยส่วนที่ใช้จ่ายหรือส่วนที่ขาด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทันทีคือ ธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มจะเป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการใช้จ่ายหรือการสนับสนุนดังกล่าวทั้งในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าและบริการ ในรูปแบบของการรักษาการเอารัดเอาเปรียบต่อไปได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบเรียกร้องส่วนแบ่งอันควรได้โดยตรงจากธุรกิจ เงินที่รัฐบาลนำไปแจก ไหลกลับไปสู่กลุ่มทุนที่เชื่อมโยงกับรัฐบาล เงินที่รัฐบาลนำไปอุดหนุนส่วนต่างหรือส่วนที่ขาด ทำให้พ่อค้านักธุรกิจสามารถตั้งราคาสูงกินส่วนต่างแพงโดยไม่ต้องปรับปรุงคุณภาพบริการหรือราคา ทั้งหมดนี้คือการทำให้ผู้ที่ได้เปรียบอยู่แล้วได้รับประโยชน์ เป็นการนำภาษีของประชาชนทุกคนในประเทศไปอุดหนุนธุรกิจหรือกลุ่มคนบางกลุ่มในนามของการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

Continue Readingนโยบาย: การสงเคราะห์หรือสิทธิ

นโยบาย: การสงเคราะห์หรือสิทธิ

นอกจากประเด็นทางหลักการที่แตกต่างกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือ ผู้ที่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงในทางปฏิบัติ เป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายที่ใช้งบประมาณเพื่อ “ผู้ด้อยโอกาส” จำนวนมากเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ที่ได้เปรียบ ยกตัวอย่างเช่น โครงการจำนำข้าว กับโครงการประกันราคาข้าว ในรัฐบาลนี้ โครงการที่เรียกว่า “ประชารัฐ” ในทางปฏิบัติแล้วกลับพบว่าเป็นการนำเงินไปอุดหนุนผู้ที่ได้เปรียบโดยผ่านมือ “ผู้ด้อยโอกาส”การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ผูกการรับและใช้จ่ายเงินที่เฉพาะเจาะจงการอุดหนุนการผลิตด้วยการให้เงินชดเชยส่วนที่ใช้จ่ายหรือส่วนที่ขาด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทันทีคือ ธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มจะเป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการใช้จ่ายหรือการสนับสนุนดังกล่าวทั้งในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าและบริการ ในรูปแบบของการรักษาการเอารัดเอาเปรียบต่อไปได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบเรียกร้องส่วนแบ่งอันควรได้โดยตรงจากธุรกิจ เงินที่รัฐบาลนำไปแจก ไหลกลับไปสู่กลุ่มทุนที่เชื่อมโยงกับรัฐบาล เงินที่รัฐบาลนำไปอุดหนุนส่วนต่างหรือส่วนที่ขาด ทำให้พ่อค้านักธุรกิจสามารถตั้งราคาสูงกินส่วนต่างแพงโดยไม่ต้องปรับปรุงคุณภาพบริการหรือราคา ทั้งหมดนี้คือการทำให้ผู้ที่ได้เปรียบอยู่แล้วได้รับประโยชน์ เป็นการนำภาษีของประชาชนทุกคนในประเทศไปอุดหนุนธุรกิจหรือกลุ่มคนบางกลุ่มในนามของการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

Continue Readingนโยบาย: การสงเคราะห์หรือสิทธิ