คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

นโยบายการบริหารของรัฐบาลหรือแนวทางที่รัฐบาลจะใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น  โดยปกติรัฐบาลจะนำข้อเรียกร้องหรือผลประโยชน์สาธารณะที่ประชาชนต้องการมาจัดทำเป็นนโยบายพรรคการเมืองของตน และเมื่อชนะการเลือกตั้ง ฝ่ายรัฐบาลหรือในนามคณะรัฐมนตรีที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินจะต้องนำนโยบายของรัฐบาลในชุดนั้นๆ แถลงต่อรัฐสภา ดังนั้นการแถลงนโยบายจึงหมายถึงการแจ้งหรือรายงานให้สมาชิกสภาทราบว่ารัฐบาลมีแนวทางหรือทิศทางการบริหารราชการในลักษณะอย่างไร ในทางการเมืองถือว่าการแถลงนโยบายเป็นเหมือนสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชน โดยอาศัยรัฐสภาเป็นประจักษ์พยานซึ่งเมื่อทำการแถลงนโยบายไว้แล้ว รัฐบาลจะมีความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินและได้รับการรับรองตามกฎหมายและนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป สำหรับนโยบายของรัฐบาลไทยในระบอบประชาธิปไตย มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475 ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีคนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในครั้งนั้นรัฐบาลมีแนวนโยบายในชื่อของ “หลัก 6 ประการ” อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีชุดแรกนี้ไม่ได้ทำการแถลงต่อรัฐสภาอย่างเป็นทางการ นโยบายของรัฐบาลชุดแรกตามหลัก 6 ประการ มีสาระสำคัญดังนี้ 1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล…

Continue Readingคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

การฝึกอบรมเพื่อให้ตระหนักรู้เท่าทันเทคโนโลยี

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การฝึกอบรมเพื่อให้ตระหนักรู้เท่าทันเทคโนโลยี หมายถึงการอบรมที่เน้นให้เห็นความสำคัญของการที่ต้องมีความรู้เพื่อความอยู่รอดของตนเองและองค์การ ลักษณะการฝึกอบรมคือเน้นไปที่หลักจิตวิทยา ในสถานการณ์ที่ทำให้ผู้อบรมรับรู้ว่า ถ้าตนเองขาดความรู้ส่วนนี้แล้วจะทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งจะไม่มีความมั่นคงทางอาชีพ (Garavan , 2003)  การฝึกอบรมเน้นไปในความเชี่ยวชาญการทำงานกับเทคโนโลยี เพื่อเตรียมรับการทำงานมีหลายมิติเช่น ความสามารถของพนักงานในการบูรณาการความรู้หลายด้านร่วมกันในการแก้ปัญหา และสร้างความปลอดภัย (SANS Security Awareness Report, 2019) โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานที่อยู่ในฝ่ายผลิตสินค้ายิ่งจะมีการฝึกอบรมสูงขึ้น โดยผลการศึกษาของ Bresnahan & Brynjolfsson (2002) กับแรงงานที่จำเป็นต้องใช้สารสนเทศเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ในกระบวนการผลิตผลมีความสัมพันธ์กับ พื้นฐานการศึกษาของแรงงาน อัตราความต้องการในการฝึกอบรม และทักษะในการทำงาน และสร้างความเป็นมืออาชีพในการทำงานที่ต้องรับกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Hassan,…

Continue Readingการฝึกอบรมเพื่อให้ตระหนักรู้เท่าทันเทคโนโลยี

โคโรน่าไวรัสกับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

พนักงานเป็นเสมือนส่วนหนึ่งขององค์การเป็นทรัพยากรที่มีลักษณะเฉพาะเมื่อเทียบกับทรัพยากร อื่น ๆ เช่น เงินทุน ทรัพยากรที่จับต้องได้และทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ ทรัพยากรอื่น ๆ ทำให้สิ่งต่าง ๆ เป็นไปได้ แต่ทรัพยากรบุคคลทำให้สิ่งต่าง ๆ “เกิดขึ้นได้” สิ่งสำคัญในการบริหารจัดการคือ การตัดสินใจกระทำได้โดยพนักงานในองค์การเท่านั้น และการตัดสินใจดังกล่าวก็จะถูกนำไปใช้โดยพนักงานอีกเช่นกัน ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นสิ่งขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาองค์การ พัฒนาชาติ และพัฒนาโลก และความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมก็ถูกคิดค้นโดยทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเรียกว่าต้นทุนทางพนักงาน ความสุขของแรงงานไทยเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกในการบริหารงานในองค์การเนื่องจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนองค์การ  แม้ว่าจะมีการวางแผนที่ดีโดยกำหนด กลยุทธ์การบริหารและนโยบายต่าง ๆ อย่างชัดเจนเพื่อสนับสนุนการทำงาน แต่ถ้าพนักงานยังมีปัญหาส่วนตัวอันสืบเนื่องจากครอบครัว ก็จะทำงานด้วยความกังวลใจ…

Continue Readingโคโรน่าไวรัสกับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ