รัฐบาลทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจอะไรบ้าง

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

รัฐบาลทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจอะไรบ้าง[1]           การทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ของรัฐบาลนั้น การที่รัฐ / รัฐบาลจะเลือกใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด เพื่อจุดมุ่งหมายอะไรในทางเศรษฐกิจนั้นขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลต้องการที่จะเข้าไปแทรกแซงในทางเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด หากต้องการที่จะเข้าไปควบคุมทางเศรษฐกิจทั้งหมดอย่าง เช่น ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมที่รัฐบาลในนามของพรรคคอมมิวนิสต์เป็นเจ้าของและผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ก็เลือกที่จะใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ตรงกันข้ามหากเป็นการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประเทศ/รัฐนั้น ๆ ก็จะเลือกใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยมมักจะไม่เข้าไปแทรกแซง หรือควบคุมระบบเศรษฐกิจ แต่จะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกันเอง เพียงแต่รัฐจะออกกฎหมาย กำหนดระเบียบแบบแผนและวิธีปฏิบัติให้เอกชนถือเป็นผู้ปฏิบัติ รัฐเพียงแต่เข้าไปกำกับและตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่กำหนดไว้เพื่อมิให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ หรือมีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือผูกขาดของเอกชนในการดำเนินการทางธุรกิจที่ส่งผลเสียต่อประเทศชาติและประชาชน อย่างไรก็ตามในบางสถานการณ์รัฐบาลอาจเข้าไปแทรกแซงการทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจของเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือในบางกรณีรัฐอาจจำเป็นต้องทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจด้วยตนเองเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ได้           การใช้ระบบเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการทำหน้าที่ของรัฐให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ…

Continue Readingรัฐบาลทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจอะไรบ้าง

บทบาทและเป้าหมายของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

บทบาทและเป้าหมายของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ 1. บทบาทของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ โดยหลักการแล้ว ถ้าเชื่อว่าการปล่อยให้กลไกเศรษฐกิจทำงานโดยมีการแข่งขันแบบเสรีจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว รัฐบาลควรจะเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวกับการจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ หรืออาจไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลเลยก็ได้ ทั้งนี้เพราะหากปล่อยให้ประชาชนแต่ละคนได้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนโดยอิสระแล้วจะทำให้การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยใช้กลไกของราคาและปล่อยให้ระบบตลาดทำหน้าที่ของมันเองตามหลักอุปสงค์-อุปทาน และอาศัย “มือที่มองไม่เห็น” หรือ “Invisible hand” มาจัดการให้ตลาดเข้าสู่ระบบดุลยภาพแล้วสังคมจะได้รับความพอใจ หรือได้รับสวัสดิการสูงสุด อย่างไรก็ตาม ในโลกของความเป็นจริงแล้ว กลไกของตลาดหรือราคานั้นจะไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่และอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่สามารถทำลายความสงบสุขของสังคมได้ ดังนั้น รัฐบาลในฐานะที่เป็นองค์การที่ใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐทางการบริหารจึงต้องเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจ โดยเป็นผู้จัดสรรสินค้าและบริการในส่วนที่เอกชนไม่อาจทำได้ดี หรือไม่สามารถทำได้ เพื่อให้ประชาชนได้รับสินค้าและบริการที่ดีโดยการดำเนินมาตรการทางด้านการคลังและมาตรการทางด้านการเงิน สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องยื่นมือเข้าไปมีบทบาทหรือแทรกแซงการประกอบการทางเศรษฐกิจของเอกชนมีดังนี้ (เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม 2552) 1. การรักษาตัวบทกฎหมายและการจัดระเบียบภายในสังคม 2.…

Continue Readingบทบาทและเป้าหมายของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ