ลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินและสินทรัพย์มีตัวตน

                การลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนต่างๆ มีสิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องพิจารณาเสมอในการลงทุนได้แก่ ผลตอบแทน ความเสี่ยงจากการลงทุน และสภาพคล่องของสินทรัพย์ ซึ่งสินทรัพย์ลงทุนแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะต่างๆข้างต้นแตกต่างกัน                 สินทรัพย์ทางการเงิน เป็นสินทรัพย์ลงทุนที่ผู้ลงทุนจะได้เพียงหลักฐานยืนยันการลงทุนซึ่งยืนยันว่ามีการลงทุนแต่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงได้ แต่อาจนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันภาระผูกพันต่างๆได้ เป็นต้น สินทรัพย์ทางการเงินมีหลากหลายประเภท เช่น เงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารอนุพันธ์เป็นต้น การฝากเงินไว้กับธนาคารมีข้อดีคือเป็นการลงทุนที่เก็บรักษาสินทรัพย์ปลอดภัย มีสภาพคล่องสูงเบิกใช้ได้ทันทีที่ต้องการ และมีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ แต่มีข้อเสียคือได้ผลตอบแทนต่ำ ถ้าเลือกลงทุนในตราสารหนี้จะมีลักษณะคล้ายกับการฝากเงินกับธนาคารแต่จะมีความเสี่ยงจากการลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ออกตราสารหนี้นั้น รวมทั้งสภาพคล่องของตราสารหนี้ก็น้อยกว่าเงินฝากธนาคารโดยผู้ลงทุนที่ถือตราสารหนี้ที่ยังไม่ครบกำหนดต้องขายตราสารหนี้ในตลาดรองซึ่งก็ไม่แน่นอนว่าจะขายได้ในราคาเท่าไรและใช้เวลาในการขายเท่าไร อย่างไรก็ตามตราสารหนี้โดยทั่วไปมักจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินกับธนาคาร สำหรับตราสารทุนจะมีความเสี่ยงจากการลงทุนมากกว่าตราสารหนี้ ผู้ลงทุนจึงต้องการส่วนชดเชยความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ตราสารทุนจึงให้ผลตอบแทนที่คาดหวังสูงกว่าตราสารหนี้ ในขณะที่การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ต่างๆมีความเสี่ยงสูงมาก และมีลักษณะของการเก็งกำไรมากกว่าการลงทุน…

Continue Readingลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินและสินทรัพย์มีตัวตน

การเช่าสินทรัพย์กับการจัดหาเงินทุนนอกงบการเงิน

การเช่าสินทรัพย์ (Leasing) โดยเฉพาะการเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) เป็นการเช่าที่ไม่ได้รายงานรายการสินทรัพย์ที่เช่าเป็นรายการสินทรัพย์ของกิจการที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ รวมถึงไม่ต้องรายงานภาระผูกพันที่จะต้องชำระค่าเช่าสินทรัพย์ที่ยังคงเหลือจนสิ้นสุดสัญญาเช่าเป็นรายการหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการผู้เช่าสินทรัพย์ในระบบมาตรฐานบัญชีเดิม ทำให้การเช่าดำเนินงานเป็นการจัดหาเงินทุนนอกงบการเงิน (Off-balance sheet Financing) ที่บริษัทจำนวนมากนิยมใช้ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานรายงานทางการเงินของสหรัฐอเมริกา (Financial Accounting Standards Board: FASB) และ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standards Board: IASB) ได้มีเป้าหมายที่จะให้บริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถใช้สัญญาเช่าสินทรัพย์เป็นเครื่องมือในการจัดหาเงินทุนนอกงบแสดงฐานะการเงินอีกต่อไป โดย FASB…

Continue Readingการเช่าสินทรัพย์กับการจัดหาเงินทุนนอกงบการเงิน

การผลิตเนย เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือภาษีที่เก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่างๆ อย่างไรก็ดี ตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้การประกอบกิจการบางชนิดได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การขายสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราว แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ในทางปฏิบัติ มีประเด็นที่ขอหารือดังนี้ ผลิตภัณฑ์เนยที่สหกรณ์ผลิตมาจากน้ำนมวัวดิบ แยกครีม ผ่านอุณหภูมิ นำเข้าเครื่องปั่นเนยโดยใช้ครีม (38 - 40%) 120…

Continue Readingการผลิตเนย เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?