4 ทักษะสำคัญในการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลง

โดย อ.ดร.สุปัญญดา สุนทรนนธ์ 4 ทักษะสำคัญในการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับบุคลากรในองค์การ 1.การวางแผนและการกำกับดูแล (Navigation) เป็นทักษะการบริหารพื้นฐาน ในการวางแผน กำหนดผลลัพธ์ กำกับ วัดผล และการจัดการต่างๆเพื่อให้ไปถึงสิ่งที่วางแผนไว้ เช่น การกำหนดกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นระหว่างการสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้างและเป็นอย่างไร รวมทั้งควบคุมกิจกรรมและระยะเวลาของการปรับปรุงสิ่งต่างๆ (สำนักงานคณะกรรมการัฒนาระบบราชการ, n.d.) 2.ทักษะภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นทักษะเฉพาะบุคคลที่มีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการจะเป็นผู้นำในการบริการจัดการการเปลี่ยนแปลงนั้น ความมุ่งมั่นให้เกิดผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งหนึ่งที่จะแสดงออกให้เห็นถึงความต้องการในการเปลี่ยนแปลง ผู้นำจึงจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเพื่อเป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นในองค์กร 3.การปรับปรุงและพัฒนาองค์ประกอบขององค์กร (Enablement) เป็นทักษะในการปรับตัวและตอบรับกับการเปลี่ยนแปลง…

Continue Reading4 ทักษะสำคัญในการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการเปลี่ยนแปลง [Change Management] คืออะไร?

โดย อ.ดร.สุปัญญดา สุนทรนนธ์ Change Management หรือการบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ กระบวนการ เครื่องมือ และ เทคนิค ในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อให้องค์กรได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการจากการเปลี่ยนแปลง เช่น การจัดระเบียบการทำงาน และ อบรมพนักงานเรื่องวิธีการทำงานแบบใหม่ โดยจุดหมายคือการช่วยพนักงานยอมรับ ปรับตัว ปรับวิธีการทำงาน และเปลี่ยนแปลงตามที่องค์การวางแผนไว้ได้ ¢ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามความต้องการขององค์การ จำเป็นต้องมี ‘การออกแบบ’ หรือ ‘การวางแผน’ รวมถึง “การจัดการ” เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร วิธีการทำงาน…

Continue Readingการบริหารการเปลี่ยนแปลง [Change Management] คืออะไร?

ทิศทางและแนวโน้มการทำงานในศตวรรษที่ 21 (3)

เป้าหมายการทำงานที่เปลี่ยนไปของคนทำงานในศตวรรษ21 โดย อ.ดร.สุปัญญดา สุนทรนนธ์ 1.เป้าหมายที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น คนวัยทำงานยุคนี้โดยส่วนใหญ่คือคน Gen Y (คนที่เกิดพ.ศ.2523-2543) ที่มีลักษณะไม่ชอบการผูกมัด ต้องการทำงานอย่างมีความสุขมากกว่าสนใจแต่เรื่องเงิน อีกทั้งมีค่านิยมรักอิสระ ชอบการเป็นนายตัวเองมากกว่าอยู่ภายใต้การควบคุม การทำธุรกิจส่วนตัวหรือเป็นเจ้าของกิจการจึงตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี 2.เป้าหมายการทำงานมุ่งไปที่งานเฉพาะทางมากขึ้น เป้าหมายในการทำงานหรือประกอบอาชีพในปัจจุบันได้แก่ กลุ่มอาชีพอิสระต่างๆ กลุ่มอาชีพด้านโลจิสติกส์ กลุ่มการส่งของเดลิเวอรี่ กลุ่มผู้ประกอบอาหาร กลุ่มงานด้านภาษาต่างประเทศ กลุ่มงานบริการที่บ้าน เช่น งานซ่อมแซมบ้าน การบริการเกี่ยวกับสัตว์ กลุ่มงานด้านสุขภาพและยา (รวมถึงกลุ่มงานทางการแพทย์ หมอ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ…

Continue Readingทิศทางและแนวโน้มการทำงานในศตวรรษที่ 21 (3)