การครอบงำกิจการ (Takeover)

การครอบงำกิจการ (Takeover) องค์กรหรือบริษัท โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียน อาจต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการครอบงำกิจการได้ทั้งในฐานะของฝ่ายที่ต้องการขยายกิจการ โดยการTakeover และการเป็นบริษัทที่บุคคลอื่นต้องการ Takeover ซึ่งการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น จะมีผลอย่างมากต่อการควบคุมทิศทาง ความเสี่ยงของบริษัท ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายใดก็จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหุ้นและอาศัยการมีส่วนร่วมจากผู้ถือหุ้น ประกอบการตัดสินใจด้วย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียน ได้แก่ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ.2535 มีข้อกำหนดรองรับการควบกิจการเข้าด้วยกัน เช่น บริษัท A ควบรวมกับบริษัท B กลายเป็นบริษัทใหม่คือบริษัท C และการซื้อ หรือ ขายกิจการทั้งหมด…

Continue Readingการครอบงำกิจการ (Takeover)

ธุรกรรมการซื้อขายสินทรัพย์สำคัญของบริษัทจดทะเบียน

ธุรกรรมการซื้อขายสินทรัพย์สำคัญของบริษัทจดทะเบียน เนื่องจากการซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเพื่อขยายกิจการ หรือ การประกอบธุรกิจใหม่  การขายสินทรัพย์เพื่อลดขนาดการประกอบธุรกิจ ย่อมมีผลกระทบต่ออนาคตของบริษัท รวมถึงผู้ถือหุ้นเช่น เพิ่มความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ กระทบความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท หรือ กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ การตัดสินใจดังกล่าวจึงจำเป็นจะต้องทำเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหุ้น ดังนั้น หากเป็นเรื่องที่กระทบกับผู้ถือหุ้นโดยตรง หรือ เป็นเรื่องสำคัญซึ่งกระทบกับผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมาก ผู้ถือหุ้นก็ควรมี อำนาจในการตัดสินใจเลือกอนาคตของตนเอง โดยผ่านคณะกรรมการซึ่งมีส่วนของตัวแทนผู้ถือหุ้น หรือผู้ถือหุ้น เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจแล้วแต่กรณี กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ.2535 ได้กำหนดให้การซื้อ ขาย โอน…

Continue Readingธุรกรรมการซื้อขายสินทรัพย์สำคัญของบริษัทจดทะเบียน

การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงาน

การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงาน (Employee Stock Option Plan : ESOP) การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงาน โดยเฉพาะสำหรับบริษัทจดทะเบียน หมายถึง การให้สิทธิซื้อหุ้นแก่กรรมการและพนักงาน ในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อสร้างความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของแก่กรรมการและพนักงานของบริษัท เป็นการดำเนินนโยบายในด้านการสร้างแรงจูงใจเพื่อประโยชน์ระยะยาว กว่าการกระตุ้นให้เกิดกำไรในรอบปี นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้ปฏิบัติงานในองค์กรด้วย อย่างไรก็ตาม การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนนั้น ย่อมก่อให้เกิดต้นทุนการออกหลักทรัพย์ดังกล่าวให้แก่บริษัท ซึ่งแม้จะไม่ได้แสดงเป็นค่าใช้จ่ายที่กระทบกับกำไรขาดทุนของบริษัท แต่ก็ทำให้จำนวนหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้น และทำให้ 1 หุ้นของผู้ถือหุ้นมีสัดส่วนในส่วนแบ่งกำไรของบริษัทลดลง (Dilution Effect) ดังนั้น จึงควรสร้างความสมดุลระหว่างการใช้เครื่องมือนี้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่กรรมการและพนักงาน กับ…

Continue Readingการเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงาน