การรับรู้ภาวะหมดไฟในการทํางาน (Burnout Syndrome)

ความเหนื่อยหน่ายหรือภาวะหมดไฟ (burnout) เป็นปัญหาที่พบได้มากโดยเฉพาะในบุคลากรที่มีอาชีพในการบริการ โดยพบได้ประมาณร้อยละ 15-50 ของคนทํางาน อาชีพทีต้องทํางานเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและบุคลากรสาธารณสุข
มักเป็นกลุ่มเสียงที่ประสบปัญหาภาวะหมดไฟได้มากที่สุด (ศรีสกุล เฉียบแหลม, 2019)

ภาวะหมดไฟในการทํางานคืออะไร

ภาวะหมดไฟในการทํางาน (Burnout) เป็นโรคทางสุขภาพจิตที่ต้องได้รับการรักษาซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดอยู่ในกลุ่ม ICD (International Classification of Diseases)
ผู้ที่มีภาวะหมดไฟในการทํางานมักเป็นผลมาจากการสะสมความเครียดในการทํางานมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนมีอาการแสดงออกทีผิดปกติทางด้านร่างกาย และจิตใจ เช่น มีความรู้สึกเหนื่อยล้า หมดเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หดหู่ หมดหวัง ท้อแท้ หงุดหงิด โมโหง่าย รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า ปฏิเสธงาน ความสามารถในการทํางานลดลง ขาดงานบ่อย
และจบด้วยการขอลาออกจากงาน (1) รู้สึกว่าตนเองขาดความ สามารถมองตนเองด้านลบ ไม่มีความก้าวหน้าในงานมีความรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมในการทํางานเป็นอุปสรรคต่อการทํางาน
ไม่สามารถปรับตัวต่องานและการใช้ชีวิตส่วนตัวประสิทธิภาพลดลง (ชลธิชา แก้วอนุชิต, 2561)

วิธีการจัดการเมือมีภาวะหมดไฟในการทํางาน
เมื่อพบว่า กําลังเกิดภาวะหมดไฟในการทํางาน สิงที่ควรปฏิบัติเพื่อให้เข้าสู่ระยะฟื้นตัวโดยเร็ว ได้แก่ การจัดการกับความเครียด การพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสียของงานที่ทํา การค้นหาเป้าหมายทีแท้จริงของชีวิต การวางแผนชีวิตตามเป้าหมายทีเลือก การจัดการวางแผนปัญหาที่เกิดขึนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นด้านการปฏิบัติงาน การดูแลตนเองและอยู่กับปัจจุบันอย่างมีความสุข เป็นสิงจําเป็นอย่างยิง

สรุปได้ว่า
ภาวะหมดไฟในการทํางานเป็นภาวะของความอ่อนล้าทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกายของบุคคลที่เกิดจากแรงกดดันในการทํางานเป็นเวลานานจนทําให้เกิดความเครียดสะสมซึ่งจิตแพทย์ได้ชี้แจงว่าหากมีภาวะหมดไฟในการทํางานแล้วหาทางออกหรือจัดการความเครียดของตนเองได้ก็สามารถนําพาตนเองออกมาจากจุดนั้นได้อย่างดี แต่ถ้าจัดการ
ไม่ได้จะเริ่มพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ ซึ่งเป็นสิ่งทีจะต้องสังเกตตนเองว่าอยู่ในขั้นเริมต้น ภาวะหมดไฟในการทํางานหรือพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าไปเรียบร้อย
แล้วหรือยัง นอกจากนีถ้ามีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามากระตุ้นอีก อาจจะทําให้บุคคลนั้นมีความเสี่ยงในการเป็นโรคทางจิตเวชมากขึ้นหรืออาจจะถึงขันฆ่าตัวตายได้