ประกอบไปด้วย 3ทักษะคือ (1) ความรู้เกี่ยวกับดิจิตอล คือ การปรับใช้เทคโนโลยีร่วมกับการทำงานได้อย่างถูกต้องแหละเหมาะสมทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นคล่องตัวและตอบโจทย์การปฏิรูปภาครัฐ นอกจากนี้ทักษะด้านดิจิตอลยังหมายรวมถึงความสามารถในการคาดการณ์สถานการณ์ทั้งภายนอกและภายในองค์กรอันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีดิจิตอล (2) การทำงานแบบบูรณาการหรือการทำงานเป็นทีม คือ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและภาคส่วนอื่นๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทั้งนี้หมายรวมถึงทักษะที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปันข้อมูล การสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรเพื่อบริหารความขัดแย้ง และ (3) มีศักยภาพในการตัดสินใจและปฏิบัติโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ คือ ความสามารถในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ มีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรที่มีนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผลสูงสุด ในกรณีของบุคลากรองค์กรภาครัฐย่อมหมายถึงการใช้ทรัพยากรในการจัดทำริการสาธารณะให้แก่ประชาชนโดยคุ้มค่าต่อภาษีที่ประชาชนจ่ายด้วยความรวดเร็วแลมีประสิทธิภาพ
2. ทักษะเชิงกลยุทธ์
ประกอบด้วย 3ทักษะคือ (1) ความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจ หมายถึงความสามารถในการสื่อสารเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันของทุกฝ่าย อาจกล่าวได้ว่าการโน้มน้าวจูงใจคือการถ่ายทอดความคิดและข้อมูลให้กับผู้อื่นโดยสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่หลากหลาย ทั้งนี้ยังหมายรวมถึงความสามารถในการจัดสรรวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมาย (2) พัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ หมายถึง ความสามรถในการทำความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะส่วนหนึ่งขององค์กรภาครัฐโดยเชื่อมโยงไปถึงยุทธศาสตร์ขององค์กรและยุทธ์ศาสตร์ของประเทศ เมื่อบุคลากรมีความเข้าในบทบาทหน้าที่ดังที่ได้กล่าวมาก็จะสามารถสร้างกลยุทธ์ในการทำงานที่ไม่เพียงตอบโจทย์ขององค์กรภาครัฐแต่ยังสามารถรังสรรค์ประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ (3) การคิดวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่เกี่ยวของกับภารกิจมาแก้ปัญหาเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการคิดวิเคราะห์ต้องคิดอย่างเป็นระบบโดยแยกส่วนของปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆมีการตั้งคำถามอย่างเหมาะสม มีการจัดสินใจและประเมินผลกระทบของปัญหาด้วยเทคนิคและข้อมูลเชิงลึก
3. ทักษะเชิงนวัตกรรม
ประกอบด้วย3ทักษะคือ (1) คิดอย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ หมายถึง ความสามารถในการสร้างสรรค์แนวทางใหม่เพื่อจัดการกับปัญหาหรือความท้าทายที่เกิดขึ้น อาจเรียกได้ว่าการคิดอย่างสร้างสรรค์คือการคิดนอกกรอบซึ่งมีส่วนสำคับอย่างยิ่งในการต่อยอดพัฒนาเป็นนวัตกรรมทางการบริหารจัดการในองค์กร (2) การผลักดันให้เกิดนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงในองค์กร หมายถึง การริเริ่มหรือพัฒนานโยบายการบริหาร แนวทางใหม่ๆในการบรรลุซึ่งวัตถุประสงค์ ทั้งนี้หมายรวมถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง (3) การเปิดใจยอมรับความเปลี่ยนแปลงและสามารถปรับตัวเข้ากับโครงสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่น หมายถึง ความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของตนเองเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งตามบริบทของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและนอกองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป