เงินสกุลดิจิทัล การลงทุนในยุคดิจิทัล

            จากนิยามความหมายของเงินที่นักเศรษฐศาสตร์ให้ไว้ว่าหมายถึง “สิ่งที่สังคมยอมรับให้ใช้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่างๆในระบบเศรษฐกิจ” ซึ่งเงินมีวิวัฒนาการจากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติที่คนในสังสังคมส่วนมากต้องการ เช่น เปลือกหอย หินสีต่างๆ สู่ยุคการใช้เงินโลหะ เช่น เงิน ทองคำ แล้วจึงมีพัฒนาการสู่ยุคของการใช้เงินกระดาษ ซึ่งเป็นตราสารที่มีผู้รับรองมูลค่าของตราสารหรือเงินกระดาษนั้นโดยที่ผู้ที่เป็นผู้รับรองมูลค่าของตราสารหรือเงินกระดาษนั้นจะต้องเป็นผู้ที่สังคมยอมรับว่ามีความน่าเชื่อถือที่สามารถชดใช้มูลค่าตามที่ระบุในตราสารหรือเงินกระดาษนั้น ซึ่งได้กลายเป็นเงินธนบัตรของแต่ละประเทศที่รัฐบาลเป็นผู้รับรองมูลค่าของเงินธนบัตรของตน อย่างไรก็ตามเมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้น มีการใช้เงินฝากกระแสรายวันของธนาคารพาณิชย์มาชำระหนี้โดยจ่ายเป็นเช็คธนาคาร แต่ความน่าเชื่อถือของเช็คหรือตั๋วเงินจะมีมากขึ้นถ้าตั๋วเงินฉบับนั้นได้รับการรับรองจากธนาคารแล้ว นั่นคือธนาคารจะเป็นผู้รับรองมูลค่าของตั๋วเงินฉบับนั้นนั่นเอง เมื่อผู้คนมีความเชื่อถือในฐานะความมั่นคงของธนาคารก็จะเชื่อถือตั๋วเงินฉบับที่ธนาคารรับรองด้วย ตั๋วเงินที่ธนาคารรับรองจึงเป็นเงินกระดาษที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้รับรองมูลค่า             ในยุคดิจิทัลมีผู้สร้างสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใช้การพัฒนาซอร์ฟแวร์ที่ใช้สร้างเงินสกุลดิจิทัล เงินสกุลดิจิทัลสกุลแรกที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายคือ “บิตคอยน์ (Bitcoin)” ซึ่งสร้างขึ้นจาก Bitcoin software เป็นซอร์ฟแวร์ประเภท open…

Continue Readingเงินสกุลดิจิทัล การลงทุนในยุคดิจิทัล

ถอดบทเรียน : การสร้างนวัตกรรมจากอิทธิพลของซีรีส์แดจังกึมในบริบทประเทศไทย

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ละครซีรีส์ “แดจังกึม” เป็นเหมือนสินค้าสร้างชาติของประเทศเกาหลีใต้ที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกและด้วยความนิยมของแดจังกึมนั้นยังส่งผลทำให้กระแสเกาหลีสามารถสร้างเป็นสินค้าที่สอดแทรกวัฒนธรรมของตนเองไว้ได้อย่างดี สำหรับเนื้อหาในบล็อกนี้จะกล่าวถึงการถอดบทเรียนของกระแสซีรีส์แดจังกึมในบริบทประเทศไทยในหลายแง่มุม ดังนี้ (ชัชพันธุ์ ยิ้มอ่อน และชุติมน แฝงพงษ์, 2019) 1.แรงบันดาลใจจากแดจังกึมสู่ภาพยนตร์ค่าย GTH  ซึ่งเห็นถึงความคลั่งไคล้วัฒนธรรมเกาหลีของคนไทย จึงสร้างภาพยนตร์เรื่อง “กวน มึน โฮ” แนวโรแมนติกคอมเมดี้ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ไปถ่ายทำที่ประเทศเกาหลีใต้ และได้แรงบันดาลใจการเขียนบทจากหนังสือเรื่อง “สองเงาในเกาหลี” ในหนังสือสองเงาในเกาหลีเล่มนี้ ได้มีการกล่าวถึง “แดจังกึม” โดยปรากฏในหนังสือตอนว่า “ในที่สุด” และ “คาหลังคาเขา”…

Continue Readingถอดบทเรียน : การสร้างนวัตกรรมจากอิทธิพลของซีรีส์แดจังกึมในบริบทประเทศไทย

ท่องเที่ยวตามรอยละครซีรีส์เกาหลี : อาหารเกาหลี

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

กระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลี (Korean Wave) ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมาได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยผ่านสื่อมวลชนมากมาย ได้แก่ ละครซีรีส์ เพลงภาพยนตร์ และรายการวาไรตี้ เป็นต้น ทำให้คนในสังคมชื่นชอบดารานักร้องเกาหลีจนไปถึงวัฒนธรรมเกาหลี อาจกล่าวได้ว่า กระแสความนิยมอาหารเกาหลีเริ่มต้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อละครซีรีส์เกาหลีเรื่องแดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง (Dae Jang Geum: Jewel in the Palace) มีการนำเสนอวัฒนธรรมอาหารเกาหลีอย่างมีเสน่ห์ที่ทางสถานีโทรทัศน์ไทยแห่งหนึ่งนำเข้ามาออกอากาศจนเกิดกระแสการตอบรับเป็นอย่างดีกลายเป็นละครซีรีส์ที่โด่งดังมาก และเป็นการจุดกระแสความนิยมสินค้าวัฒนธรรมเกาหลีที่เห็นได้ชัดเจน คือวัฒนธรรมอาหารเกาหลีที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก มีร้านอาหารเกาหลีเปิดกิจการมากมายเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เป็นแฟนละครเรื่องนี้ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีผ่านละครซีรีส์เรื่องแดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง พบว่า คนไทยจำนวนหนึ่งมีความรู้สึกร่วมตามละครซีรีส์เรื่องแดจังกึม…

Continue Readingท่องเที่ยวตามรอยละครซีรีส์เกาหลี : อาหารเกาหลี