การขอจริยธรรมการวิจัยในคน (1-การวิจัยในคนคืออะไร)

การขอจริยธรรมการวิจัยในคน มีความสำคัญมากต่อผู้ทำวิจัยในปัจจุบัน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลายสถาบัน เริ่มมีการขอจริยธรรมการวิจัยในคนก่อนเริ่มเก็บข้อมูลกันมากขึ้น ทั้งนี้ ขั้นตอนการขอจริยธรรมก็มีหลายขั้นตอน มีการปรับแก้ไขหลายครั้ง ผู้วิจัยจึงควรศึกษาขั้นตอนต่างๆ ให้เข้าใจก่อนเริ่มดำเนินการ "การทำวิจัยในคน หมายถึง กระบวนการศึกษาที่เป็นระบบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางด้านสุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ได้กระทำต่อร่างกายหรือจิตใจของอาสาสมัครในการวิจัย หรือที่ได้กระทำต่อเซลล์ส่วนประกอบของเซลล์ วัสดุสิ่งส่งตรวจ เนื้อเยื่อ น้ำคัดหลั่ง สารพันธุกรรม เวชระเบียน หรือข้อมูลด้านสุขภาพของอาสาสมัครในการวิจัย และให้หมายความรวมถึงการศึกษาทางสังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ" อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำหรับท่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโหลดเอกสารจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  ตาม link…

Continue Readingการขอจริยธรรมการวิจัยในคน (1-การวิจัยในคนคืออะไร)

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่ในองค์การมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้และการจัดการความรู้ในองค์การอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรในองค์การสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เกิดการแบ่งปันความรู้ร่วมกัน และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด กระบวนการจัดการความรู้ที่ใช้ในการจัดทำแผนการจัดการความรู้ในโครงการนำร่องของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจความรู้ (Knowledge Identification) การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and…

Continue Readingการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)

การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) เป็นกระบวนการหรือขั้นตอนหนึ่งของการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ในองค์การ ทั้งนี้การแบ่งปันความรู้เป็นการจัดการความรู้เพื่อให้บุคลากรในองค์การได้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และเพื่อให้บุคลากรในองค์การมีความรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมในการปฏิบัติงาน การแบ่งปันความรู้เกี่ยวข้องกับบุคคล 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายแหล่งความรู้ (Knowledge Source) คือผู้ส่งสารที่มีความตั้งใจที่จะให้ความรู้และแบ่งปันความรู้ และฝ่ายผู้รับความรู้ (Knowledge Receiver) คือผู้รับสารที่มีความตั้งใจที่จะรับข้อมูลและความรู้ (วิธัญญา วัณโณ, 2552; Rehman & others, 2014) การแบ่งปันความรู้ในองค์การมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานขององค์การ…

Continue Readingการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)